Page 342 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 342

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๑๔


                                                        ส่วนที่  ๔



                                       คดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก




                         การด าเนินกระบวนพิจารณาคดีประเภทนี้อยู่ในลักษณะ ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญ

                  ในศาลชั้นต้น หมวด ๑ ซึ่งมีหลักการส าคัญที่พึงตระหนัก ๓ ประการ ได้แก่

                                (๑)    ในนัดแรกที่คู่ความมาพร้อมกัน ศาลต้องท าการไกล่เกลี่ยเสมอ

                                (๒)  ในการพิจารณาสืบพยาน ให้ตระหนักว่าเป็นระบบไต่สวนหาความเป็นจริง

                  โดยศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วจึงให้ตัวความหรือทนายความ ซักถามเพิ่มเติมได้

                  (มาตรา ๑๙๓ จัตวา วรรคสอง)


                                (๓)  การด าเนินกระบวนพิจารณาต้องเป็นไปโดยมิชักช้า และพิพากษาโดยเร็ว
                  เท่าที่พึงกระท าได้ โดยเลื่อนคดีได้ครั้งละไม่เกิน ๗ วัน (มาตรา ๑๙๓ เบญจ)



                  ๑.  คดีมโนสาเร่มีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘๙

                           มีเพียง  ๒  ประเภท  คือ


                           - คดีที่มีค าขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจค านวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน  ๓๐๐,๐๐๐ บาท

                  หรือไม่เกินจ านวนที่ก าหนดในพระราชกฤษฎีกา

                        - คดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกิน

                  เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท  หรือไม่เกินจ านวนที่ก าหนดในพระราชกฤษฎีกา


                          ๑.๑  การรับฟ้องคดีมโนสาเร่

                                      ๑.๑.๑  กรณีโจทก์ยื่นค าฟ้องเป็นหนังสือ  สั่งว่า “รับฟ้อง พิจารณาอย่างคดี

                  มโนสาเร่  ส าเนาให้จ าเลย  หมายเรียกจ าเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย  ให้การและสืบพยาน

                  โจทก์จ าเลยในวันเดียวกัน  ให้โจทก์วางเงินค่าน าส่งตามข้อบังคับว่าด้วยการส่งค าคู่ความและ

                  เอกสารทางคดีอย่างช้าภายในวันท าการถัดไป มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง  นัดพิจารณาวันที่ . . .

                  เวลา . . . น.” หรือสั่งว่า  “รับฟ้อง  พิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ ส าเนาให้จ าเลย  หมายเรียกจ าเลย

                  มาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยานโจทก์จ าเลยในวันเดียวกัน  ให้โจทก์น าส่งภายใน ๕ วัน

                  ส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน ๗ วัน นับแต่วันส่งไม่ได้  มิฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง . . .”

                                      ในหมายเรียกต้องจดแจ้งประเด็นและจ านวนทุนทรัพย์  (โดยแนบส าเนา

                  ค าฟ้องส่งไปด้วย) พร้อมก าหนดวันนัดพิจารณา นัดจ าเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและ

                  สืบพยานในวันเดียวกันตามมาตรา ๑๙๓
   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346   347