Page 484 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 484

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๕๖


                                                         ส่วนที่ ๔



                              เมื่อคดีไม่มีข้อพิพาทกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท




                            ถ้ามีผู้คัดค้าน คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท (กรณีคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกถ้าผู้คัดค้าน

                  ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก  ผู้คัดค้านต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วย) สั่งค าร้องคัดค้านว่า

                  “รับค าร้องคัดค้าน ส าเนาให้ผู้ร้อง นัดพร้อมในวันนัดไต่สวน”

                            ไม่ควรเรียกผู้ร้องว่าโจทก์และผู้คัดค้านว่าจ าเลย  แต่ให้เรียกว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตามเดิม

                  ต่อไป

                            ผู้คัดค้านจะต้องมีส่วนได้เสียด้วย (ฎีกาที่ ๘๔๒/๒๔๘๗, ๓๘๐/๒๕๐๙, ๒๒๔๙/ ๒๕๒๑)


                  ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๘ (๔) ที่ว่า ถ้ามีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดี ให้ถือว่าเป็นคู่ความและให้
                  ด าเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีมีข้อพิพาทนั้น  หมายความเฉพาะแต่เป็นผู้ที่จะคัดค้านได้


                  เท่านั้น  มิได้หมายความว่าเมื่อมีใครคัดค้านเข้ามาแล้ว จะกลายเป็นคู่ความทั้งหมด (ฎีกาที่ ๘๒๒/
                  ๒๔๙๑ ประชุมใหญ่)


                            เมื่อเป็นคดีมีข้อพิพาท  บางกรณีถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์  เช่น  การขอแสดงกรรมสิทธิ์

                  ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีผู้คัดค้านต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์  ผู้ร้อง

                  ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ (ฎีกาที่ ๑๗๐/๒๕๐๖, ๔๙๓๑/๒๕๔๑) คดีที่ฟ้องต่อศาลจังหวัด

                  หากทุนทรัพย์อยู่ในอ านาจศาลแขวง ศาลจังหวัดที่รับค าร้องไว้ต้องโอนคดีไปยังศาลแขวง

                  ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา ๑๗, ๒๕ (๔) (ฎีกาที่ ๑๖๗๗/๒๕๔๗, ๑๖๖๕/๒๕๔๘)

                            กรณีขอให้สั่งตั้งผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านก็ขอให้ตั้งผู้คัดค้านต่างคนต่างกล่าวอ้าง  ผู้ร้อง

                  เป็นผู้เริ่มคดี  ให้ผู้ร้องน าสืบก่อนและสืบแก้ผู้คัดค้านไปด้วย  ถ้าเห็นสมควรศาลอาจตั้งผู้ร้องและ

                  ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน  (ฎีกาที่ ๑๐๘๖/๒๕๒๐)  แต่จะประนีประนอมยอมความ

                  ไม่ได้เพราะการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก  ศาลจะต้องไต่สวน ให้ได้ความว่า ผู้ร้องมีคุณสมบัติ

                  ตามกฎหมาย (ฎีกาที่ ๕๐๑๒/๒๕๓๘)

                            คดีไม่มีข้อพิพาทแม้มีผู้คัดค้าน  บางกรณีก็ไม่กลายเป็นคดีมีข้อพิพาทดังที่บัญญัติยกเว้นไว้

                  ตามมาตรา ๑๘๘ (๔) ตอนท้าย

                            เมื่อผู้ร้องยื่นค าร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

                  เมื่อมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๘(๔) ให้ด าเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมี

                  ฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจ าเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้ (ฎีกาที่ ๓๘๕/๒๕๔๔)
   479   480   481   482   483   484   485   486   487   488   489