Page 480 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 480

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๕๒


                                       ๔.  การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นจะครอบครอง

                  ปรปักษ์ทรัพย์สินของตนเองไม่ได้ เช่นบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของ  กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท

                  ใส่ชื่อจ าเลยในโฉนดแทน  เช่นนี้โจทก์ไม่มีอ านาจฟ้อง (ฎีกาที่ ๕๓๘/๒๕๓๖, ๑๓๕๕-๑๓๕๗/

                  ๒๕๓๙)

                             ๕. นิติบุคคลก็ครอบครองปรปักษ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นได้  (ฎีกาที่ ๒๙๕/๒๕๐๑,

                  ๑๒๕๓/๒๔๘๑, ๙๔๔ – ๙๔๕/๒๔๙๗, ๒๓๙/๒๕๑๔)


                             ข้อสังเกต

                             กรณีนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจ ากัด หรือบริษัทจ ากัด

                  เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินแต่นิติบุคคลถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อออกจาก

                  ทะเบียนตาม  ป.พ.พ.  มาตรา  ๑๒๗๓/๓

                             ถึงแม้ตามมาตราดังกล่าวซึ่งแก้ไขใหม่จะระบุให้ “ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น

                  สิ้นสภาพนิติบุคคล” ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๔๖ (๕) เดิม ระบุว่า “ให้เป็นอันเลิกกัน”  แต่ตาม

                  ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๑๒/๒๕๕๕ ที่ตัดสินตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงวินิจฉัยว่า

                  “เป็นผลให้นิติบุคคลเป็นอันเลิกกัน” ดังนั้น เมื่อยังไม่ได้ยื่นค าร้องต่อศาลขอให้มีค าสั่งให้

                  นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัทให้คืนเข้าสู่สถานะเป็นนิติบุคคล บริษัทไม่สามารถ

                  มอบอ านาจให้อดีตกรรมการฟ้องคดีแทนได้ (ฎีกาที่ ๑๑๗๑๓/๒๕๕๓) และไม่สามารถด าเนินคดี


                  ฟ้องบริษัทที่ถูกขีดชื่อได้ แม้มาตรา ๑๒๔๙ จะบัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี จะได้เลิกกันแล้ว
                  ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จ าเป็นเพื่อการช าระบัญชีก็ตาม ก็เป็นการตั้งอยู่เพื่อการ


                  ช าระบัญชีเท่านั้น (ฎีกาที่ ๘๔๑๓/๒๕๔๔) หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหรือกรรมการของบริษัทย่อมเข้า

                  เป็นผู้ช าระบัญชี (มาตรา ๑๒๕๑ วรรคแรก) ถ้าไม่มีผู้ช าระบัญชี ถ้าพนักงานอัยการหรือผู้มีส่วน

                  ได้เสียร้องขอให้ศาลตั้งผู้ช าระบัญชี (มาตรา ๑๒๕๑ วรรคสอง) ศาลย่อมมีอ านาจตั้งเจ้าพนักงาน

                  กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ช าระบัญชีได้ (ฎีกาที่ ๒๒๐/๒๕๒๖) ผู้ช าระบัญชีย่อมมี

                  อ านาจว่าต่างแก้ต่างในทางแพ่งหรืออาญาในนามนิติบุคคล (มาตรา ๑๒๔๙ (๑) ) หรือท าการ

                  อย่างอื่น ๆ ตามแต่จ าเป็นเพื่อช าระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี (มาตรา ๑๒๔๙ (๔) )

                             ห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ที่ต้องเสียหายอาจยื่น

                  ค าร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งจดชื่อกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๗๓/๔ แต่ต้อง

                  ร้องขอภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๗๓/๔ วรรคสอง)

                             ผู้ช าระบัญชีอาจยื่นค าร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งจดชื่อนิติบุคคลเข้าสู่ทะเบียนได้ (เทียบ

                  ฎีกาที่ ๓๓๐๒/๒๕๕๓)
   475   476   477   478   479   480   481   482   483   484   485