Page 477 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 477

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๔๙


                                    ๒.๒.๓   การสั่งค าร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

                                      สั่งค าร้องขอว่า “รับค าร้องขอ   ประกาศนัดไต่สวน   ให้ผู้ร้องวางเงินค่าประกาศ

                  หนังสือพิมพ์ภายใน . . . วัน  นัดไต่สวนวันที่ . . . เวลา . . . .น.”

                                      ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทมากรายที่น่าจะเป็นปรปักษ์กัน  เช่น  มีบุตรหลายคน

                  เกิดจากภรรยาหลายคน  ควรใช้ดุลพินิจส่งส าเนาค าร้องขอให้ทายาทเหล่านั้นทราบทุกคน

                  โดยให้ผู้ร้องท าส าเนาค าร้องขอมาเท่าจ านวนทายาท และให้ผู้ร้องแถลงที่อยู่ของทายาทเหล่านั้น

                  ภายในเวลาที่ก าหนด เพื่อสั่งให้ผู้ร้องน าส่งส าเนาค าร้องให้ทายาทเหล่านั้นต่อไป

                                      ค าร้องขอต้องมีสาระส าคัญว่า ผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือเป็น

                  ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก  มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกและผู้ร้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย

                  ทางไต่สวนก็ต้องได้ความทั้งสามประการ เว้นแต่ขอให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดก ผู้อื่นนั้นไม่ต้องมี

                  ส่วนได้เสียในกองมรดก  แต่ต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย


                                      หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก  เช่น  โฉนด ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน
                  ไม่จ าเป็นแก่คดีไม่ต้องรับไว้ในส านวน


                               ข้อสังเกต

                             ๑.  การร้องขอให้ศาลถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ศาลมีค าสั่งตั้งไว้แล้ว การขอถอน

                  ค าสั่งแสดงการสาบสูญ และการขอถอนค าสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือ น


                  ไร้ความสามารถนั้น  ต้องเสนอต่อศาลที่มีค าสั่งตามมาตรา ๗  (๔) ดังนั้น ผู้ร้องจึงต้องยื่นค าร้อง
                  ดังกล่าวเข้าไปในคดีเดิมคือศาลชั้นต้นที่ท าการพิจารณาและมี  ค าสั่งในเรื่องนั้นแต่แรก (ฎีกาที่


                  ๑๔๐๗/๒๕๑๕)

                                      ๒.  กรณีผู้ร้องขอไม่มาศาลในวันนัดไต่สวน   ให้ศาลสั่งทิ้งค าร้องขอและจ าหน่ายคดี

                  ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๔ (๒)


                  ตัวอย่าง   เกี่ยวกับดุลพินิจในการตั้งผู้จัดการมรดก
                             (๑) แม้ศาลยกค าร้องของ ค.ที่ร้องขอให้ตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ต่อมาผู้มีส่วน


                  ได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค. เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระท าได้

                  ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓  และการที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็น

                  ผู้จัดการมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. ๑๗๑๘ (ฎีกาที่ ๓๗๒/๒๕๓๙)

                             (๒) แม้ผู้คัดค้านจะเป็นทายาทมีสิทธิรับทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมของผู้ตายคนหนึ่ง

                  และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกก็ตามแต่เมื่อผู้ตายได้ท าพินัยกรรมแต่งตั้ง
   472   473   474   475   476   477   478   479   480   481   482