Page 474 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 474
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๔๖
ยึดถือท ากินที่ดินมือเปล่า ๔ แปลง เมื่อนาย บ. ถึงแก่ความตายก็ยังไม่มีการแบ่งที่ดินกัน
แต่ก่อนที่นาง จ. จะถึงแก่ความตาย ได้ขอออกโฉนดในที่ดิน ๔ แปลงดังกล่าวเป็นชื่อของ
นาง จ. เอง ดังนี้ ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งในที่ดินทั้ง ๔ แปลง
อันเป็นทรัพย์มรดกของนาย บ. และนาง จ. ผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา
๑๗๑๓ แล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนาง จ.ได้ (ฎีกาที่ ๕๑๒๙/
๒๕๓๙)
(๔) แม้การจดทะเบียนหย่าจะท าให้ผู้คัดค้านที่ ๓ มิใช่ทายาทของผู้ตาย
แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ ๓ ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ท ามาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ ๓
จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา
๑๗๑๓ (ฎีกาที่ ๕๒๗๔/๒๕๓๙)
(๕) การที่ ป. ยื่นค าคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้
แต่ต่อมาถึงแก่ความตายในระหว่างไต่สวน อ. บุตรของ ป. จึงยื่นค าร้องขอให้ตั้งตนเองเป็น
ผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว โดยอ้างว่ามีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยรับมรดกแทนที่
ต่อจาก ป. นั้น กรณีเป็นเรื่องที่ อ. คัดค้านค าร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก
ของผู้ตายเข้ามาใหม่ มิใช่เป็นการขอเข้าเป็นคู่ความแทน ป. ต้องรับค าร้องของ อ. ไว้พิจารณา (ฎีกาที่
๑๒๑๙/๒๕๓๘)
(๖) ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๘ ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุ
ไว้ให้ชัดเจน แต่ตามข้อความในพินัยกรรมมิได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่าตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก
จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก และเมื่อผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากทรัพย์
มรดกที่ยกให้แก่ บ. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านในฐานะทายาทจึงเป็ นผู้มีส่วนได้เสีย
ในทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม มีสิทธิร้องคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
(ฎีกาที่ ๕๑๒๐/๒๕๓๙)
(๗) แม้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ ๑ กับผู้ตายจะตกเป็นโมฆะแต่
ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๖ ก็บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้คัดค้านที่ ๒ ซึ่งเกิดขณะที่ผู้คัดค้าน
ที่ ๑ เป็นภริยาของผู้ตาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่น าสืบหรือมีพยาน
มาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
ของผู้ตาย ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓ (ฎีกาที่ ๑๔๙๐/ ๒๕๓๗)
(๘) ค าว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ตามมาตรา ๑๗๑๓ แห่ง ป.พ.พ. ไม่จ าต้องเป็น
ผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง เมื่อกองมรดก