Page 476 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 476

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๔๘


                  เป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้  ต้องขอให้ตั้งบุคคลอื่นซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๗๑๘  เป็นผู้จัดการ

                  มรดก

                                             ๒. กรณีที่มีพินัยกรรมก าหนดตัวบุคคลที่จัดเป็นผู้จัดการมรดกไว้แล้ว  ศาลต้อง

                  ตั้งบุคคลดังกล่าวตามที่ก าหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓

                  วรรคท้าย (ฎีกาที่ ๒๘๒๖/๒๕๑๗,๕๑๒๐/๒๕๓๙)

                                         ๓. ต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓ (๒)

                  ถ้าไม่มีเหตุขัดข้อง  ศาลยกค าร้องขอ  เช่น ทายาทท าสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์

                  มรดกกันเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่มีความจ าเป็นต้องตั้งผู้จัดมรดกศาลยกค าร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

                  (ฎีกาที่ ๒๓๐๙/๒๕๒๐)

                                        ๔. ค าร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกต้องบรรยายให้ชัดว่า  ผู้ร้องเป็น

                  ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกหรือมีสิทธิรับมรดก  มิฉะนั้นไม่มีสิทธิยื่นค าร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก


                  ศาลยกค าร้อง (ฎีกาที่ ๓๘๗/๒๕๑๘)
                                       ๕. การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว  กรณีผู้ร้องหรือ


                  ผู้คัดค้านคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรมลง  บุคคลภายนอกจะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่

                  ผู้มรณะ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๔๘/๒๕๑๙, ๒๐๑๘/๒๕๔๘)

                                         ๖. นิติบุคคลก็อาจจะเป็นผู้จัดการมรดกได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้าม

                  นิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก  ดังนั้น  ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่ก าหนดไว้ในข้อบังคับ

                  หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว  ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่

                  เห็นสมควร  เช่น   ผู้ร้องเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะตกเป็นสมบัติของผู้ร้องเอง  ผู้ร้อง

                  จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย  ย่อมกระท าการเป็นผู้จัดการมรดกได้โดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัด

                  เป็นผู้แสดงความประสงค์ให้ปรากฏตาม ป.พ.พ.  มาตรา ๗๕ (ป.พ.พ. ใหม่ มาตรา ๗๐ วรรคสอง)

                  (ฎีกาที่ ๑๑๒๗/๒๕๒๔ ประชุมใหญ่) หรือสภากาชาดไทย  ผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่อยู่ในฐานะ

                  ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๘ (ฎีกาที่ ๓๑๖๖/๒๕๒๙)

                                      ๗.  ถ้าทรัพย์ที่อ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และไม่ปรากฏว่า

                  ผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก ก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้จัดการมรดก เช่น บ าเหน็จตกทอด เป็นทรัพย์ที่ผู้ตาย

                  ได้มาหลังจากผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว จึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่จะร้องขอจัดการมรดกได้

                                      ๘. ผู้ร้องหลายคนยื่นค าร้องขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกฉบับเดียวขอจัดการ

                  ทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันเสียค่าขึ้นศาล ๒๐๐ บาท

                                      ๙. ผู้ร้องยื่นค าร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายหลายคนในค าร้องฉบับเดียวกัน

                   เสียค่าค าร้องรายกองมรดกที่ขอจัดการ
   471   472   473   474   475   476   477   478   479   480   481