Page 473 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 473

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๔๕


                                                  ๒.๒.๒.๑   เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกถ้าไม่มีสิทธิรับมรดก ก็ไม่ใช่

                  ทายาทผู้มีสิทธิยื่นค าร้องขอ  (ฎีกาที่ ๑๔๙๑/๒๕๒๓, ๗๓๘/๒๕๒๔, ๔๘๙๒/๒๕๓๖)

                                      ตัวอย่างกรณีไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

                                      (๑)  ผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงหลานของพี่ของปู่ ผู้ตาย จึงมิใช่ผู้สืบสันดานของ

                  ผู้ตายและมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๒๙  ทั้งมิได้กล่าวอ้างว่า

                  เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก  ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

                  (ฎีกาที่ ๗๔๙/๒๕๓๙)

                                      (๒) แม้ผู้คัดค้านที่ ๒ จะเพิ่งคลอดและศาลมีค าสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย

                  ประมาณ ๘ เดือนว่าผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม  ผู้คัดค้านที่ ๒ ก็มี


                  สิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
                  ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕๘ วรรคแรก และเป็นทายาทโดยธรรมล าดับที่ ๑ ผู้ร้องเป็นเพียงน้อง


                  ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย

                  ในทรัพย์มรดก  เพราะผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓  หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์

                  จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  หาใช่เกิดขึ้นในภายหลัง

                  ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่

                  ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ (ฎีกาที่ ๑๑๙๖/๒๕๓๘)

                                                  ๒.๒.๒.๒ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย  ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ได้รับประโยชน์

                  จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย (ฎีกาที่ ๑๑๙๖/๒๕๓๘)

                                                 ตัวอย่างที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

                                                (๑)  ผู้ตายไม่มีทายาทเลย ซึ่งกรณีเช่นนี้แม้ทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดิน

                  ก็ตาม แต่แผ่นดินก็ไม่ใช่ทายาท จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองทรัพย์มรดกและ

                  มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓  (ฎีกาที่ ๑๖๙๕/๒๕๓๑

                  ประชุมใหญ่)

                                      (๒) สามีภริยาอยู่กินด้วยกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  ผู้ร้องเป็นภริยา

                  ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม  แต่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วมกัน

                  ก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียเช่นกัน (ฎีกาที่ ๑๐๘๖/๒๕๒๐)

                                      (๓)  ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๓

                  หาจ าต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่

                  เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรของนาย บ. กับนาง น.โดยนาย บ. อยู่กินฉันสามีภรรยากับนาง จ. และนาง น.

                  ก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ หลังจากนาง น. มารดา ผู้ร้องถึงแก่ความตาย นาย บ.และนาง จ. ร่วมกัน
   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477   478