Page 478 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 478

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๕๐


                  ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว

                  ก็สมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย (ฎีกาที่ ๕๑๒๐/๒๕๓๙)

                         (๓) ที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม  ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเคย

                  อยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ตายนั้น  ก็มีแต่ค าเบิกความลอย ๆ  ของผู้คัดค้านเท่านั้น  ผู้ร้องเองก็

                  เบิกความว่าผู้คัดค้านไม่เคยมาอยู่กับผู้ตายและไม่เคยมาพักที่บ้านผู้ตายเลย   จึงเป็นการยากที่จะ

                  รับฟังว่าผู้คัดค้านมีความผูกพันกับผู้ตายถึงขั้น   สมควรจะเข้าไปร่วมดูแลจัดการทรัพย์มรดก

                  ผู้ตาย  อีกทั้งได้ความจากค าเบิกความของผู้คัดค้านว่าที่ผู้คัดค้านต้องการเป็นผู้จัดการมรดกของ

                  ผู้ตายนั้น  ก็เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเกิดความเสียหายจากการ

                  จัดการมรดกของฝ่าย ผู้ร้อง อันเป็นเจตนาที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน  หาใช่กระท าเพื่อความชอบธรรม

                  และประโยชน์ของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยตรงไม่  กรณีเช่นนี้ถ้าผู้คัดค้านซึ่งมิใช่

                  ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะเจ้าของรวมอย่างไร


                  ก็ชอบจะเรียกร้องเอาได้โดยไม่จ าต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้อยู่แล้ว   จึงให้ผู้ร้อง
                  เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว (ฎีกาที่ ๒๖๐๙/๒๕๓๗)


                             (๔) เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง ๔ คน เป็นผู้เยาว์ ๓ คน ผู้ร้องเป็นมารดา

                  และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอ านาจปกครองตามกฎหมาย  ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาท

                  ส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของ

                  ทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน  ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุ

                  ในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็น

                  ปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก  ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระท าการใน

                  ลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายตามที่แสดงไว้นั้น  ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการ

                  มรดกแต่ผ่ายเดียว  แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วย  ศาลฎีกา

                  จึงก าหนดเงื่อนไขในการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้ด้วยว่า  ในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดก

                  ไปในทางจ าหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่

                  บุคคลที่มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคน   จะต้องขออนุญาต

                  จากศาลเป็นกรณีไป (ฎีกาที่ ๑๙๔/๒๕๓๕)


                            ๒.๓  การขอเพิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคล  ขอเลิกนิติบุคคล

                  ขอตั้งหรือถอนผู้ช าระบัญชีของนิติบุคคล  การขอให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนตาม

                  ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๔๖ (๖) หรือค าร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล

                                     ๒.๓.๑  ศาลที่จะยื่นค าร้องขอ  ได้แก่  ศาลที่นิติบุคคลนั้นมีส านักงานแห่งใหญ่อยู่ใน

                  เขตศาล (มาตรา ๔ เบญจ)
   473   474   475   476   477   478   479   480   481   482   483