Page 479 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 479
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๕๑
๒.๓.๒ การสั่งค าร้องขอ สั่งว่า “รับค าร้องขอ ประกาศนัดไต่สวน ให้ผู้ร้องวางเงิน
ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ภายใน . . . วัน ส าเนาให้นายทะเบียน. . . . .และกรรมการ
ผู้มีอ านาจของนิติบุคคล (หากยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกนิติบุคคล)จะคัดค้านประการใดให้ยื่น
เข้ามาภายในวันเวลานัด ให้ผู้ร้องน าส่งภายใน . . . วัน นัดไต่สวนวันที่ . . . เวลา . . . . น.”
๒.๔ การขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.
มาตรา ๑๓๘๒
๒.๔.๑ ศาลที่จะยื่นค าร้องขอ ได้แก่ ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือศาล
ที่ผู้ร้องมีภูมิล าเนาอยู่ในเขตศาล (ตามมาตรา ๔ (๒))
๒.๔.๒ การสั่งค าร้องขอ สั่งว่า “รับค าร้องขอ ประกาศนัดไต่สวน ให้ผู้ร้องวางเงิน
ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ ภายใน . . . วัน ส าเนาให้ผู้มีชื่อในโฉนดหรือทายาท จะคัดค้านประการ
ใดให้ยื่นเข้ามาภายในวันเวลานัด ให้ผู้ร้องน าส่งภายใน . . .วัน นัดไต่สวนวันที่ . . . เวลา . . . . น.”
ในชั้นไต่สวน เพื่อให้แน่ใจว่าที่ดินที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์กับที่ดิน
แปลงที่อ้างในค าร้องขอเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน หรือในกรณีเป็นการครอบครองที่ดินเพียง
บางส่วน ควรสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดิน ที่ขอแสดงกรรมสิทธิ์ เพื่อทราบจ านวนเนื้อที่
และต าแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่ร้องขอ เสนอต่อศาลก่อนไต่สวน โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
ข้อสังเกต
๑. กรณีผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกที่ดินซึ่งมีโฉนด และครอบครองที่ดินแปลงนั้น
ตลอดมา ดังนี้ไม่ใช่การได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ แต่เป็นการได้
กรรมสิทธิ์ตามมาตรา ๑๕๙๙ แล้ว ไม่จ าเป็นที่จะร้องขอตามมาตรานี้ (ฎีกาที่ ๓๙๗/๒๕๒๒)
๒. กรณีผู้ร้องยื่นค าร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีค าสั่งว่า ที่ดินอสังหาริมทรัพย์ตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ แล้วนั้น ในกรณีเช่นนี้เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมผู้มี
ชื่อในโฉนดที่ดินแปลงนั้นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย ดังนี้เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมจึงเป็น
บุคคลภายนอกคดีดังกล่าว ย่อมมีอ านาจฟ้องเป็นคดีใหม่ขอพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิ์ในที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์นั้นดีกว่าผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ (๒) (ฎีกาที่ ๗๗๙/๒๕๒๖)
๓. การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ นั้น
ศาลจะพิพากษาหรือสั่งให้เจ้าของเดิมผู้มีชื่อในโฉนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว
ให้แก่โจทก์หรือผู้ร้องไม่ได้ โจทก์หรือผู้ร้องจะต้องด าเนินการตามกฎกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
(ฎีกาที่ ๓๐๕๖/๒๕๑๖)