Page 475 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 475
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๔๗
ของ ส. ซึ่งตกได้แก่มารดาผู้ร้องแต่มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตายไปแล้ว กองมรดกของ ส.
ย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ ส่วนสิทธิ
ในการรับมรดกของ ส. ผู้ตายว่าทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ร้องเพียงใดนั้น เป็นกรณีที่จะต้องว่า
กล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก (ฎีกาที่ ๒๑๓๕/๒๕๓๗)
(๙) ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว เป็นทายาทโดยธรรม
และมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของปู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา
๑๗๑๓ (ฎีกาที่ ๑๑๑๗/๒๕๓๖)
(๑๐) การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมประกอบธุรกิจการค้ากับผู้ตาย ขณะที่ผู้ตายไปนอนป่วย
รักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ปรากฏว่า ธุรกิจดังกล่าวยังด าเนินต่อไปจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่กรรม
ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการดังกล่าวจึงเป็นของผู้ตายและผู้คัดค้านร่วมกัน
ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิยื่นค าร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ
ผู้ตาย กับมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ (ฎีกาที่ ๕๐๑๒/๒๕๓๘)
ตัวอย่างที่ถือว่าไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
(๑) ผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของเจ้ามรดก ทั้งเหตุที่กล่าวอ้างมาในค าร้องคัดค้านว่า
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและท าประโยชน์ในที่ดินที่ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
และจะถูกผู้ร้องใช้สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกมาบังคับนั้นก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าที่ดินตามที่
กล่าวอ้างเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่เพียงใด ซึ่งชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
กรณียังถือไม่ได้ว่า ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย อันจะก่อให้เกิดสิทธิในการ
ร้องขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกได้ (ฎีกาที่ ๔๙๐๒/๒๕๓๘)
(๒) เมื่อพินัยกรรมก าหนดให้ผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย
แต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ที่มิได้รับ
ประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๘ วรรคท้าย ผู้ร้อง
ทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอ านาจที่จะร้องขอต่อศาล
ให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ฎีกาที่ ๓๒๙๒/๒๕๓๘)
๒.๒.๒.๓ เป็นพนักงานอัยการ พนักงานอัยการยื่นค าร้องขอให้ศาลตั้ง
ผู้จัดการมรดกโดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายความ แต่ต้องเสียค่าค าร้องขอตามปกติ
ข้อสังเกต
๑. ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามที่
ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๘ ดังนั้นผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะก็อาจจะร้องขอให้ศาลตั้ง
ผู้จัดการมรดกได้โดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ด าเนินคดีแทนแต่จะขอให้ศาลตั้งตนเอง