Page 81 - แผนการสอน 61-2
P. 81

72


                       4. เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เรื่องที่ 1 พายุ ใช้ภาพหรือวีดิทัศน์ที่แสดงปรากฏการณ์เกี่ยวกับพายุฝนฟ้า
               คะนอง และพายุหมุนเขตร้อน ให้นักเรียนสังเกต จากนั้นครูถามค าถามสร้างความสนใจ เช่น พายุทั้งสองมี

               ความแตกต่างกันอย่างไร พายุใด สร้างอันตรายต่อมนุษย์มากกว่ากัน
                       5. ให้นักเรียนท ากิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนแล้วน าเสนอผลการท ากิจกรรม หากพบว่านักเรียน
               ยังท ากิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียนไม่ถูกต้องครูควรทบทวนหรือแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียนเพื่อให้มี
               ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะเรียนเรื่องพายต่อไป
                                                            ุ
                       6. ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับพายุโดยให้ท ากิจกรรม รู้อะไรบ้างก่อนเรียน นักเรียน
               สามารถเขียนได้ตามความเข้าใจของนักเรียน
                       7. น าเข้าสู่กิจกรรมที่ 6.9 พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยตั้งประเด็น
               สร้างความสนใจว่าพายุในประเทศไทยที่พบบ่อยคือพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งนักเรียนจะได้

               เรียนรู้เกี่ยวกับพายุทั้งสองในกิจกรรมต่อไป

               ขั้นที่ 2  ส ารวจและค้นหา
                       1. ให้นักเรียนอ่านวิธีด าเนินกิจกรรมในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้

                              - กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (กระบวนการเกิดและผลกระทบของพายุฝนฟ้าคะนอง และ
                       พายุหมุนเขตร้อน)
                              - กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร

                              - การท ากิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (อ่านข้อความการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
               วิเคราะห์และวาดภาพอธิบาย กระบวนการเกิด สังเกตภาพพายุหมุนเขตร้อน วิเคราะห์และเขียนอธิบาย
               กระบวนการเกิด รวบรวมข้อมูล กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน จากนั้นน าเสนอ)
               ครูอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังตอบไม่ครบถ้วน
                       2. ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อนจาก

               ข้อมูลที่ก าหนดให้ในหนังสือเรียน
                       3. ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลกระบวนการเกิดพายุทั้งสองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือจากหนังสือ
               เรียน

                       4. อธิบายภาพประกอบในกิจกรรม 6.9 เช่น สีขาวคือกลุ่มของเมฆ สีของลูกศรแสดงอัตราเร็วของลม
               ตามแถบสีด้านข้างเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

               ขั้นที่ 3  อธิบายและลงข้อสรุป

                       1. ให้นักเรียนตอบค าถามท้ายกิจกรรม จากนั้นน าเสนอ และอภิปรายค าตอบร่วมกัน
                       2. ให้นักเรียนอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือเรียน และตอบค าถามระหว่างเรียน จากนั้นครูและนักเรียน
               ร่วมกันอภิปรายและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากอากาศมี
               อุณหภูมิสูงขึ้นท าให้น้ าระเหยเพิ่มขึ้นและลอยสูงขึ้น ไอน้ าในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ าเกิดเป็นเมฆ

               ขนาดใหญ่จากนั้นจะเกิดฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า หรืออาจเกิดลูกเห็บตกกระบวนการเกิดพายุหมุนเขตร้อน
               เกิดจากอุณหภูมิเหนือน้ าทะเลเพิ่มสูงขึ้นท าให้เกิดไอน้ าในปริมาณมากและเคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วท าให้
               อากาศบริเวณรอบ ๆ เคลื่อนเข้ามาแทนที่จึงเห็นเป็นเกลียวขนาดใหญ่ พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน
               มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งด้านบวกและลบ เช่น เกิดฝนตกช่วยในการท าการเกษตร หรือ เกิดน้ า

               ท่วมสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นจ านวนมาก
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86