Page 46 - ลง E book - สำเนา
P. 46
2. การตรวจสภาพและเครื่องมือวัด – วิเคราะห์
รูปที่ 25 เครื่องตรวจแนวศูนย์
(ที่มา : บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จ ากัด. 2561. สืบค้นจาก : www.measuretronix.com)
การตรวจสภาพด้วยการอาศัยกรรมวิธีที่แน่นอนและเครื่องมือที่เหมาะสม เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ที่ท าให้การบ ารุงรักษาทวีผลเป็นจริง คือ บ ารุงรักษาตามการเสื่อมสภาพ ใช้เครื่องจักรอย่างคุ้มค่าเมื่อ
เกิดการช ารุด สึกหรอ เสื่อมสภาพ จึงบ ารุงรักษาท าให้ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบ ารุง เพิ่มผลผลิต ลด
ต้นทุน เนื่องจากมีข้อมูลการวัดความเชื่อถือได้
การตรวจสภาพด้วยเครื่องมือจะต้องอาศัยรากฐานจากระบบงานซ่อมบ ารุงที่ดีและจาก
นโยบายหลักรวมทั้งมาตรฐานการซ่อมบ ารุงที่ดีมีหลักการในการตรวจสภาพจะถูกก าหนดขึ้นในเรื่อง
ต่างๆ ได้แก่
- การก าหนดมาตรฐานการตรวจสภาพ
- การก าหนดขั้นตอนการตรวจสภาพ
- การเลือกและก าหนดเครื่องมือการตรวจสภาพ
- วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสภาพ
- การน าผลการวิเคราะห์เพื่อวางแผนซ่อมบ ารุง
วิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสภาพด้วยเครื่องจักรและกรรมวิธีมากมายและมีความก้าวหน้า
ไปตามวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4. เทคนิคที่นิยมใช้งานตรวจสภาพ
1. การวัดรูปร่าง (Geometrical Measurement) ได้แก่ การวัดเพื่อหาข้อมูลส่วนนอกของ
ชิ้นส่วนเครื่องจักร คือ
- การวัดช่วงหลวมตัว (Play) ระหว่างผิว 2 ผิว เช่น เกียร์ และไกด์เวย์ เป็นต้น
- การวัดความไม่คงที่ (variation) ของเพลา หรือแกนหมุนอันเกิดจากการสึกหรอหรือผุ
กร่อน
- การวัดระยะห่าง (clearance) ระหว่างผิวสัมผัส 2 ผิว เช่น ระยะห่างระหว่างแบริ่งและ
เพลา,แบริ่งกับเสื้อสวม,เม็ดลูกปืนกับรางวงแหวน