Page 13 - การบูรณาการคุณค่าพระวรสาร
P. 13
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ล าดับที่ 7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 1 คาบ
ชื่อผู้จัดท า นางชนัญญา ประสิทธิ์พรพงศ์ โรงเรียน วีรศิลป์
สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
1. มาตรฐานการเรียนรู้
ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ล าดับและอนุกรม และน าไปใช้ได้
2. ตัวชี้วัด
ค 1.2 ม. 2/1 เข้าใจหลักการการด าเนินการของพหุนามและใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถบอกความหมายของเอกนาม สัมประสิทธิ์และดีกรีของเอกนาม(K)
3.2 นักเรียนสามารถบอกลักษณะเอกนามที่คล้ายกันได้(K)
3.3 นักเรียนสามารถอธิบายการหาผลบวกและผลลบของเอกนามกับเอกนามได้(K)
3.4 นักเรียนสามารถอธิบายการหาผลคูณและผลหารของเอกนามกับเอกนามได้(K)
3.5 นักเรียนสามารถบอกความหมายของพหุนาม สัมประสิทธิ์และดีกรีของพหุนาม และพหุนามใน
รูปผลส าเร็จได้(K)
3.6 นักเรียนสามารถอธิบายการหาผลบวกและผลลบของพหุนามนามกับพหุนามได้(K)
3.7 นักเรียนสามารถอธิบายการหาผลคูณของพหุนามกับเอกนาม พหุนามกับพหุนามและผลหาร
ของพหุนามกับเอกนามได้(K)
3.8 นักเรียนสามารถแก้ปัญหา ให้เหตุผล เชื่อมโยงและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ (P)
3.9 นักเรียนมีความตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของค าตอบที่ได้ มีความรอบคอบ
และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ (A)
4. สาระส าคัญ
เอกนาม (Monomial) คือ นิพนธ์ที่เป็นผลคูณระหว่างตัวเลขหรือค่าคงที่และตัวแปรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป
และก าลังของแต่ละตัวแปรนั้นไม่น้อยกว่า 0 (มากกว่า หรือ เท่ากับ 0) ซึ่งอยู่ในรูปแบบ
เอกนาม = ค่าคงตัว (ตัวเลขใดๆ) x ตัวแปร (ที่มีเลขชี้ก าลังเป็น 0 หรือจ านวนเต็มบวก) สัมประสิทธิ์ของเอก
นาม คือ ค่าคงที่ที่อยู่หน้าตัวแปร ดีกรีของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขชี้ก าลังทั้งหมดตัวของแปร
เอกนามสองเอกนามจะคล้ายกัน (similar monomials) ก็ต่อเมื่อ เอกนามทั้งสองมีตัวแปรชุดเดียวกัน
และมีเลขชี้ก าลังของตัวแปรเดียวกันในแต่ละเอกนามเท่ากันถ้าเอกนามเป็นเอกนามคล้าย เราสามารถน าเอกนาม
มาบวกหรือลบกันได้ โดย ผลบวกหรือผลลบของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลบวกหรือผลลบของ สปส.)×(ส่วนที่อยู่
ในรูปของตัวแปร)