Page 40 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 40

วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวรวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนใน

               สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เปรียบดังวรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของชาวบ้านชาวเมืองในยุคนั้นให้
               คนรุ่นหลังได้ทราบ และได้ศึกษาด้วย วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เกี่ยวกับความรัก เมื่ออ่านแล้วทำ

               ให้เกิดความรู้สึกสงสารเห็นอกเห็นใจและให้เกิดความบันเทิงด้วย เรื่องราวรักสามเส้าของหนึ่งหญิงกับสองชายนี้
               นอกจากจะมีการแสดงออกอย่างประณีตงดงามแล้ว ยังเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาและความเชื่อรวมถึง

               ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยในสมัยโบราณที่สะท้อนออกมา  ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ของชาวไทยในยุคสมัย

               ที่เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา เช่น การบรรยายถึงลักษณะของบ้านเรือนตั้งแต่วิธีการสร้างบ้าน วิธีการจัด ตกแต่งบ้าน
               เครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน การดำเนินชีวิตที่เป็นไปอย่างเรียบง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน คนส่วน

               ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรม ทำไร่ไถนา ปลูกฝ้ายทอผ้า วัฒนธรรมเช่น การแต่งการ การต้อนรับ

               แขก ประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่ตอนเกิดจนถึงตอนตาย เช่น การทำขวัญ การบวช  การโกนจุก การ
               แต่งงาน การหมั้น และการทำศพ จึงมีเหตุการณ์เรื่องราวมากมายที่ผ่านเข้ามาในการดำเนินชีวิต ประกอบไปด้วย

               ความเชื่อทางโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ การศึกษาของชายและสตรีในสมัยนั้น ประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
               เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่กวีได้ถ่ายทอดแก่ผู้อ่านได้อย่าง

               เห็นภาพชัดเจน รวมถึงคุณค่าเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาผ่านตัวภาษาที่งดงาม

                       ขุนช้างขุนแผนนับว่าเป็นวรรณคดีที่มีความเด่น มีคุณค่า เข้าถึงชีวิตจิตใจของคนไทย มีลักษณะสมจริง
               เพราะแต่งขึ้นจากเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายถึงสภาพสังคมและวิถีชีวิตในวัง หรือชนบท กวีได้บรรยายด้วย

               ความรู้จริงๆ และให้คติ ข้อคิด เกี่ยวกับปรัชญาชีวิตหลายอย่าง รับรู้ความเป็นจริงในชีวิต ให้ความรู้และความ
               เพลิดเพลินน่าอ่าน นอกจากนี้ยังเป็นวรรณคดีไทยที่หยิบยกเอาชีวิตของคนไทยขั้นสามัญมาเป็นแก่นของเรื่อง ซึ่ง

               แตกต่างจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ประมวลเอาแง่ต่างๆของการดำเนินชีวิต

               ขนบธรรมเนียมประเพณีและความนิยมของคนไทยสมัยโบราณมาบันทึกไว้เป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา มี
               สาระมากมายและมีคุณค่าล้นหลาม นับเป็นวรรณคดีที่ควรค่าแก่การศึกษาและรักษาไว้ให้เป็นสมบัติของชาติไม่ให้

               สูญไปตราบนานเท่านาน







                                                           หน้า | ๓๕
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44