Page 35 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 35

งานขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทรายเริ่มตั้งแต่เช้า ครั้นพอตกบ่ายก็มีการฉลองพระทราย  โดย

               นิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดมนต์ ในเวลาเดียวกันนั้นก็จะมีการเตรียมอาหารเพื่อไปตักบาตร เรียกว่าการตักบาตร
               เลี้ยงพระ ดังบทประพันธ์ที่ว่า



                                     “ก่อพระเจดีย์ทรายเรี่ยรายไป         จะเลี้ยงพระกะไว้ในพรุ่งนี้
                              นิมนต์สงฆ์สวดมนตร์เวลาบ่าย                 ต่างฉลองพระทรายอยู่อึ่งมี่

                              แล้วกลับบ้านเตรียมการเลี้ยงเจ้าชี          ปิ้งจี่สารพัดจัดแจงไว้”
                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)



                              การตักบาตรในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เรียกว่าเป็นการตักบาตรเลี้ยงพระคือพระฉันไปพร้อมกัน
               ทันทีไม่จำเป็นต้องอุ้มบาตรกลับไปฉันที่กุฏิ ชาวบ้านที่ไปทำบุญจะคอยเพิ่มเติมอาหารใส่บาตรพระ ลักษณะการ

               เลี้ยงพระแบบนี้ยังปรากฏอยู่ในสังคมชนบทสมัยปัจจุบัน ส่วนบาตรพระพุทธ ซึ่งใหญ่กว่าเพื่อนนั้นในวรรณคดีเรื่อง
               นี้เรียกว่า “หัวโต่ง”



                       ในเรื่องขุนช้างขุนแผนมีตอนตักบาตรเลี้ยงพระดังคำประพันธ์ที่ว่า


                                     “ฝ่ายว่านางพิมมีศรัทธา              กล้วยขนมส้มซ่าใส่ถาดใหญ่

                              หยิบขันข้าวบาตรเดินนาดไป                   ใส่แต่หัวโต่งลงมาพลัน”
                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)


                                     “ทำน้ำยาแกงขมต้มแกง                 ผ่าฟักจักแฟงพะแนงไก่

                              บ้างทำห่อหมกปกปิดไว้                       ตัดไข่ผัดปลาแห้งทั้งแกงบวน

                              บ้างก็ทำวุ้นชาสาคู                         ข้าวเหนียวหน้าหมูไว้ถี่ถ้วน
                              หน้าเตียงเรียงเล็ดข้าวเม่ากวน              ของสวนส้มสุกทั้งลูกไม้

                              มะปรางลางสาดลูกหวายหว้า                    ส้มโอส้มซ่าทั้งกล้วยไข่”
                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)



                              หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา อุบาสกและอุบาสิกากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้บรรพ
               บุรุษแล้วต่างก็แยกย้ายกลับบ้าน บางกลุ่มก็จัดการละเล่นขึ้นที่บริเวณลานวัดด้วยความรื่นเริงบันเทิงใจและยินดี

               ในกุศลผลบุญที่กระทำไป ดังบทประพันธ์ที่ว่า







                                                           หน้า | ๓๐
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40