Page 36 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 36

33





                     ปัญหาสิ่งแวดล้อมของคอนโด ดิ เอ็มโพริโอ เพลส ส่วนใหญ่ เป็นปัญหาขยะและน้ าเสีย ในขณะนั้นพบว่าปริมาณ
              ขยะ และของเสียจากผู้พักอาศัย ผู้ประกอบการร้านค้าในแต่ละวัน มีจ านวนมาก หากมีขยะตกค้างจะส่งกลิ่นเหม็น
              รบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบคอนโดมิเนียม นอกจากนี้พนักงานท าความสะอาดของคอนโดมิเนียมฯ มีการใช้
              สารเคมีประเภทน้ ายาล้างห้องน้ าเป็นวัสดุย่อยสลายยาก เกิดปัญหาต่อคุณภาพน้ าทิ้งและระบบการจัดการน้ าเสียใน

              อาคารคอนโดฯ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้พักอาศัยและสภาพแวดล้อมโดยรอบ คอนโดมิเนียมฯ
              ได้รับการร้องเรียนจากผู้พักอาศัยอยู่เป็นประจ า
                     ผู้จัดการอาคารชุดดิ เอ็มโพริโอ เพลส จึงต้องเร่งด าเนินการหาวิธีจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยขอ

              เข้ามารับการฝึกอบรมกับกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลักสูตร
              เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมืออาชีพ และหลักสูตร การจัดการน้ าเสียชุมชน เมื่อปีงบประมาณ 2560 – 2561
              และน าองค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาด าเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในคอนโดมิเนียม ดังนี้
                       น าหลัก 3Rs  reduce reuse recycle มาใช้จัดการขยะและของเสียจากคอนโดฯ นอกจากนี้ยังขอรับการ

              สนับสนุนถังขยะทั้ง ๔ ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย จากส านักงานเขตคลองเตย
              กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้พักอาศัยได้ใช้แยกขยะได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ ขยะรีไซเคิล ที่แยกได้น าไปขายต่อให้ร้าน
              รับซื้อของเก่า และขยะอินทรีย์มาหมักท าปุ๋ย

                       น้ าเสียจากอาคาร แก้ไขโดยการงดการใช้สารเคมีวัสดุย่อยยากในการท าความสะอาดห้องน้ า น้ าที่ผ่านการ
              บ าบัดแล้วไม่เกิดกลิ่นเหม็น และไม่เป็นอันตรายต่อระบบการบ าบัดน้ าเสีย  น้ าที่ผ่านการบ าบัดแล้วยังสามารถน าใช้ใน
              กิจกรรมอื่นๆ เช่น การล้างพื้น และรดน้ าต้นไม้

                       ลดการน าเข้าการใช้สารเคมีจากประเทศเกาหลี ปีละกว่า 200,000 บาท โดยใช้วัสดุเหลือใช้ (น้ าหมักจาก
              เปลือกสัปปะรด) ทดแทน ทั้งนี้น้ าที่ผ่านการบ าบัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด และรายงานผลตามแบบของกระทรวง
              ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 80 แห่งพรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

                       มีการขยายผล โดยมีการถ่ายทอดเทคนิคให้กับอาคารสูงบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การ
              จัดการน้ าเสีย ภายในอาคารด้วย และได้เพิ่มนวัตกรรมธรรมชาติเป็นไม้ไผ่แทนตะกร้อพลาสติกในบ่อบ าบัดน้ าเสียของ
              อาคาร ส าหรับจับของเสีย
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41