Page 43 - การวิจัยทางการศึกษา
P. 43
42
1.4 การสุมกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) การ
เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างโดยถือเอาความสะดวกหรือความง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล ข้อจ ากัดของการสุ่ม
แบบนี้จะมีลักษณะเหมือนกับการสุ่มโดยบังเอิญ
1.5 การสุมตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์ (snowball sampling) เป็นการ
เลือกตัวอย่างในลักษณะการสร้างเครือข่ายข้อมูล เรียกว่า snowball sampling โดยเลือก
จากหน่วยตัวอย่างกลุ่มแรก (จะใช้หรือไม่ใช้ความน่าจะเป็นก็ได้) และตัวอย่างกลุ่มนี้เสนอ
บุคคลอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงต่อๆไป
ข้อจ ากัดของการสุ่มโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น
1. ผลการวิจัยไม่สามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของ
กลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ข้อสรุปนั้นจะสรุปไปหาประชากรได้ต่อเมื่อกลุ่มตัวอย่างมี
ลักษณะต่างๆที่ส าคัญๆเหมือนกับประชากร
2. กลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัยและองค์ประกอบบางตัวที่ไม่
สามารถควบคุมได้ และไม่มีวิธีการทางสถิติอย่างไรที่จะมาค านวณความคลาด
เคลื่อนที่เกิดจากการสุ่ม (sampling error)
2. กำรสุ่มโดยกำรค ำนึงถึงควำมน่ำจะเป็น (probability sampling)
2.1 กำรสุ่มอย่ำงง่ำย (Simple random sampling)
สมาชิกทั้งหมดของประชากรเป็นอิสระซึ่งกันและกัน แล้วสุ่มหน่วยของการสุ่ม
(Sampling unit) จนกว่าจะได้จ านวนตามที่ต้องการ โดยแต่ครั้งที่สุ่ม สมาชิกแต่ละหน่วย
ของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน ซึ่งก่อนที่จะท าการสุ่มนั้น จะต้องนิยาม
ประชากรให้ชัดเจน ท ารายการสมาชิกทั้งหมดของประชากร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีที่ท าให้
โอกาสในการของสมาชิกแต่ละหน่วยในการถูกเลือกมีค่าเท่ากัน ซึ่งสามารถท าได้ 2 วิธี คือ
2.1.1 การจับฉลาก
2.1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม (table of random number) ซึ่งตัวเลข
ในตารางได้มาจากการอาศัยคอมพิวเตอร์ก าหนดค่า หรือบางครั้งสามารถใช้วิธีการดึง
ตัวอย่างโดยอาศัยโปรแกรมส าเร็จรูป