Page 314 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 314
308
บทบำทของสภำอุตสำหกรรมแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นสถาบันภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรมที่จัดตั้ง
ขึ้น เพื่อทําหน้าที่เป็นศูนย์รวมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนด้าน
อุตสาหกรรมมีความแข็งแกร่งและสามารถทําหน้าที่เป็นกลไกสําคัญในการสร้างความเจริญเติบโตอย่าง ยังยืน
ให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้ตระหนักถึงความสําคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงโอกาส
และผลกระทบในเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์มาตรการเชิงรุกในเวทีโลก หลังเปิดเขตการค้า
เสรี เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล และเตรียมความพร้อม
รองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรม บทบาทการดําเนินงานที่ผ่านมาของสภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ดังกล่าวในการเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ได้แก่
อุตสาหกรรม เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อเสนอจุดยืนและท่าที
ภาคเอกชนแก่ภาครัฐและ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการ ควบคู่กับการส่งเสริมโอกาสทาง
ธุรกิจเพื่อขยายการค้า การลงทุนกับประเทศต่างๆ
แม้ว่าสภาอุตสาหกรรมฯ ได้ดําเนินบทบาทเสริมสร้างความเข้าใจเรื่อง AEC แก่สมาชิก สภา
อุตสาหกรรมฯ มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังพบว่ามีบางส่วนที่ขาดความรู้ ความเข้าใจหรือมีความเข้าใจ ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับ AEC ประกอบกับยังมีมาตรการบางอย่างที่ต้องมีการผลักดันให้ภาครัฐเร่งรัดดําเนินการ เพื่อให้ประเทศ
ไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในการเข้าสู่ AEC ควบคู่การขับเคลื่อนด้าน อุตสาหกรรมให้เดินไป
ในทิศทางเดียวกับข้อกําหนดหรือมาตรการของการเป็น AEC
กิจกรรมที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมควบคู่ไปกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ AEC อย่าง
เป็นรูปธรรมประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ การผลักดัน การขับเคลื่อนและการติดตาม โดยจะเป็น
ตัวขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งต่างๆ ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ AEC
1.1 ผลักดัน ASEAN Single Window (ASW)
1.2 ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างใกล้ชิดเพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศสมาชิก
1.3 ผลักดันให้ AEC เป็นวาระแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน