Page 15 - บทท8-60_Neat
P. 15
อาการ Chorea
Chorea เป็นการเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ ที่มีการเคลื่อนไหวไปตามอวัยวะของร่างกายค่อนข้างมี
จังหวะต่อเนื่อง มักเกิดที่ส่วนปลายของรยางค์ ไม่สามารถควบคุมได้ภายใต้สภาวะของจิตใจ ไม่มีแบบแผน
ที่แน่นอน แต่ถ้าการเคลื่อนไหวลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเกิดกับส่วนต้นของรยางค์ เรียกว่า
Ballism ซึ่งต าแหน่งของรอยโรคในสมองเกิดได้จากบริเวณเดียวกัน Chorea เป็นผลจากความผิดปกติของ
basal ganglia circuit ที่เกิดความไม่สมดุลระหว่าง direct และ indirect pathways ท าให้มีการลดลงของ
globus pallidus interna inhibition น าไปสู่การเพิ่มขึ้นของ thalamo-cortical motor facilitation แล้วไปกระตุ้น
ที่ motor cortex จึงแสดงอาการออกมาในรูปแบบของ Hyperkinetic movements
สาเหตุของการเกิด Chorea อาจแบ่งได้เป็น
1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรค Huntington’s disease, Spinocerebellar ataxia, Mitochondrial
disorder
2. ความผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม เช่น
- การติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อเอดส์ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
- ความผิดปกติทางภูมิทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ Sydenham chorea, Systemic Lupus Erythematosus
(SLE)
- ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ได้แก่ Chorea gravidarum, Hyperthyroidism
- ความผิดปกติทางเมทาบอลิซม ได้แก่ ความผิดปกติของระดับน้ าตาลในเลือดความผิดปกติของ
ระดับโซเดียม
- ความผิดปกติจากยา มีรายงานว่ายาหลายชนิดสามารถท าให้เกิด chorea (drug-induced
chorea) ได้แก่ กลุ่มยาต้านโดปามีน ยากันชัก ยารักษาโรคพาร์คินสัน ยาคุมก าเนิด เป็นต้น
- ความผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ ภาวะสมองขาดออกซิเจนจากสาเหตุต่างๆ
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560