Page 16 - บทท8-60_Neat
P. 16

Sydenham chorea

                         พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย เกิดจากการติดเชื้อ beta-hemolytic Streptococcus group A พบได้ใน

                  ผู้ป่วยไข้รูมาติก มักจะเกิดอาการ chorea ทุกส่วนของร่างกาย ตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจประมาณ 4-6 สัปดาห์
                 เชื่อว่าเกิดจากมีการสร้าง anti basal ganglia antibody เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว อาการ chorea ชนิดนี้

                  สามารถหายเองได้ กรณีมีอาการที่รบกวนต่อการด ารงชีวิตประจ าวันสามารถควบคุมได้ด้วยยา










                 Huntington’s disease


                         เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ระบบประสาท ความชุกพบได้ทั้งสองเพศ ส่วนใหญ่เริ่มแสดงอาการเมื่อ
                  อายุ 30-40 ปี อาการประกอบด้วย อาการเคลื่อนไหวแบบ chorea เริ่มจากส่วนปลายรยางค์ มีอาการทางจิตเวช เช่น
                 อาการซึมเศร้า กังวล และอาการของสมองเสื่อมซึ่งมีตั้งแต่ระดับของสมองเสื่อมน้อยจนถึงขั้นรุนแรง สาเหตุของโรคนี้เกิด
                  จาก CAG repeat expansion ท าให้เกิดการสร้างโปรตีนชนิด Huntingtin ที่ผิดปกติ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้

                  หายขาดได้ท าได้เพียงใช้ยารักษาตามอาการเป็นหลัก

                                                      อาการ Dystonia





                       เป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง
               (sustained muscle contraction) มีการท างานไม่ประสานกันของกลุ่มกล้ามเนื้อ agonists และ antagonists

               ท าให้เกิดท่าทางหรือรูปร่างที่ผิดปกติ Dystonia สามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายท าให้มีชื่อเรียกที่

               แตกต่างกันออกไป เช่น Focal dystonia หมายถึง เกิดเฉพาะที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย Multifocal

               dystonia หมายถึง เกิดใน 2 ส่วนของร่างกายที่ไม่อยู่ติดกัน Hemi-dystonia หมายถึง เกิดบริเวณซีกใดซีก

               หนึ่งของร่างกาย เป็นต้น













                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21