Page 128 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 128
๑๑๐
๓.๗ สรุปความ
จากการศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ สามารถสรุป
ความได้ในประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นที่ ๑ ความเป็นมาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศของประเทศไทยกล่าวคือการ
ส่งพระธรรมทูตไทยไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ มีหลักฐานชัดเจนว่าเริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานี รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ได้ส่งพระธรรมทูตไปที่ประเทศลังกา ๒ คณะ
ได้แก่ คณะของพระอุบาลีและพระอริยมุนี และคณะของพระวิสุทธาจารย์และพระวรญาณมุนี รวม
ระยะเวลาในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกาประมาณ ๗ ปี จนท าให้นิกายสยามวงศ์หรือ
อุบาลีวงศ์ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในประเทศศรีลังกา และในยุคกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี รัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ส่งคณะสงฆ์ไปที่ประเทศศรีลังกาอีกครั้งหนึ่ง
โดยมีระยะเวลาประมาณ ๑ ปี และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่
๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ได้รับ
อาราธนาไปประเทศพม่า อินเดีย ยุโรปและอเมริกาเพื่องานพระธรรมทูต และท่านได้ส่งอาจารย์และ
นิสิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปศึกษาต่อที่ประเทศพม่า ศรีลังกาและอินเดีย และเริ่มมีการ
ส่งพระธรรมทูตไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ
ส่วนในประเด็นของพระธรรมทูตในปัจจุบัน หมายถึง พระสงฆ์สาวกที่ท าหน้าที่เผยแผ่
หลักธรรมค าสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นอันมาก
และพระธรรมทูตไทยยุคใหม่ คือ ผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยที่ได้รับการฝึกฝนอบรมในหลักการและ
วิธีการเพื่อมอบหมายให้ไปท างานเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ในปัจจุบันพระภิกษุที่จะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศได้นั้นต้องได้รับ
คัดเลือกจากส านักฝึกอบรมให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตในต่างประเทศและต้องมีคุณสมบัติ
ตามที่ส านักฝึกอบรมก าหนดไว้ด้วย
ประเด็นที่ ๒ ระเบียบปฏิบัติส าหรับพระธรรมทูตสายต่างประเทศในปัจจุบันซึ่งเป็นผู้แทน
ของคณะสงฆ์ไทยที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ และ
ได้รับมอบหมายให้น าหลักธรรมค าสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่แก่ประชาชนในต่างประเทศ
ภายใต้การก ากับดูแลของคณะสงฆ์ไทยและองค์กรร่วมมือต่าง ๆ ต้องได้วุฒิบัตรการฝึกอบรม พร้อม
ทั้งปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับของส านักงานก ากับดูแลพระสงฆ์ไทยไปต่างประเทศ
ประเด็นที่ ๓ นโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย การเผยแผ่
พระพุทธศาสนานับว่า เป็นนโยบายส าคัญของคณะสงฆ์ไทยโดยมียุทธศาสตร์ในด้านการเผยแผ่โดย
คณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศแผนแม่บทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙ ขึ้น โดยมียุทธศาสตร์หลัก ๔ ด้าน