Page 126 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 126
120
3.3 เงินลงทุนซื้อหุ้น พันธบัตร ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้เป็นเงินลงทุนเพิ่มเติมจากกา สะสม
รายได้ในอดีต เพื่อลดผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต
2. การวางแผนการเงินสําหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจําเป็นในการดําเนินงานธุรกิจ
โดยจะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ เช่น ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพ การ
ผลิต การส่งเสริมการจัดจําหน่ายเพื่อเพิ่มการขาย การเพิ่มบุคลากรของแผนกต่างๆ เพื่อการขยายงาน เป็นต้น
การพยากรณ์เป็นส่วนสําคัญของกระบวนการวางแผน จะช่วยชี้ให้เห็นว่าแผนการเงินในอนาคต สอดคล้องกับ
เป้าหมายธุรกิจหรือไม่ หรืออาจจะใช้การพยากรณ์เพื่อคาดคะเนปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และจะเป็นแนวทาง
เพื่อแก้ปัญหาด้วย ดังนั้นจึงควรเขียนแผนงานที่จะปฏิบัติการในอนาคตไว้ในงบประมาณ ทางการเงิน เพราะ
งบประมาณเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับฝ่ายบริหาร
วิธีการวางแผนงานทางการเงินสําหรับธุรกิจมี 2 ลักษณะ คือ
1. การกําหนดเป้าหมายรวมของธุรกิจ โดยเริ่มจากการกําหนดเป้าหมายรวมของธุรกิจ ใน
ระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผน แล้วจึงพิจารณาถึงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น บริษัท
ต้องการเพิ่มกําไรปีละ 20% เป็นเวลา 5 ปี จึงต้องพิจารณาถึงรายได้ที่จะได้รับเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น แล้วนํา
เป้าหมายรายได้นั้นมากําหนดเป็นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องใช้ทั้งหมด
2. การพยากรณ์ของแต่ละฝ่าย โดยเริ่มจากแต่ละแผนกหรือส่วนงานพยากรณ์แยกกันใน การ
คาดคะเนประมาณส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ โดยคิดเป็นงบประมาณของแต่ละแผนก แล้วจึง นํามา
รวมกันเป็นแผนการทางการเงินรวมของธุรกิจ
การควบคุมเกี่ยวกับงบประมาณ ต้องมีการจัดการโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมาย
ส่วนหนึ่งคือการให้เกิดกําไรสูงสุด และการลดความเสี่ยงภัยของธุรกิจโดยกําหนดสัดส่วนของการถือสินทรัพย์
ว่าควรอยู่ในรูปใด นอกจากนั้นควรมีการจัดโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ เกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนที่ต้องการ
ใช้ การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียน การลดหนี้ผูกพัน การยึดเวลาชําระหนี้ การจัดสรรลงทุนสินทรัพย์ที่มีให้
เหมาะสมกับทุนและเงื่อนเวลาที่จํากัด การกําหนดนโยบายการจ่าย ปันผลให้สัมพันธ์กับสินทรัพย์และโครงสร้าง
ทางการเงิน ซึ่งวิธีการจัดการด้านการเงินเพื่อประโยชน์ในการทํากําไร เช่น ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ โดย
ที่งบประมาณควรจัดทํา ระบบบัญชีและสามารถวิเคราะห์ต้นทุน โดยมีการวางแผนการขาย การพยากรณ์
ยอดขาย วางแผนการขยายงานในอนาคต
วัตถุประสงค์ของการวางแผนงานทางการเงินสําหรับธุรกิจ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
(Liquidity) และเพื่อประโยชน์ในด้านการทํากําไร (Profitability)