Page 127 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 127
121
หลักกำรวำงแผนทำงกำรเงิน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทําให้มีความจําเป็นต้องวางแผน รอบคอบ และไม่
ประมาทในการใช้ชีวิต ดังนั้น หลักในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพดังนี้
1. การประเมินสถานการณ์ เป็นการเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม เพราะ
จะช่วยให้สามารถประเมินรายรับ-รายจ่ายได้ นอกจากนี้ยังสามารถประเมินสินทรัพย์ที่มี
2. กําหนดเป้าหมาย คือการวางแผนการเงิน โดยกําหนดให้อยู่ในรูปของตัวเงิน ระยะเวลา
เท่าไร และเป้าหมายที่เป็นไปได้โดยให้สอดคล้องกับรายรับ-รายจ่าย และหนี้สินที่มีอยู่ ทั้งนี้การวางแผน
การเงิน ควรแยกเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้ปฏิบัติตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
อย่างชัดเจน
3. การจัดทําแผนทางการเงิน การวางแผนทางการเงินนั้นควรจัดทําแผนด้วยความละเอียด
และ รอบคอบ โดยคํานึงถึงบุคคลและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง และจัดลําดับความสําคัญว่าอะไรควรทําก่อน
หรือ หลังเพื่อให้ปฏิบัติได้จริงและถูกต้องตามแผนที่กําหนดไว้
4. การนําแผนไปปฏิบัติเป็นการทําตามแผนที่กําหนดไว้โดยต้องมีวินัยในการปฏิบัติอย่าง
เคร่งครัด
5. การวัดผลและการปรับปรุงแก้ไข เป็นสิ่งที่จะทําให้ทราบว่า แผนนั้นสามารถปฏิบัติได้จริง
ตรง ตามเป้าหมายหรือไม่ และสามารถนําผลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงผลการปฏิบัติในอนาคตได้
เบคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน ได้แก่
1. รัฐบาล (Government) เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการสาธารณะ เช่น กําหนดกฎหมาย
เพื่อ คุ้มครองประชาชน ตํารวจ ถนน สาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลมีบทบาทในการกําหนดกฎระเบียบ
ข้อบังคับต่างๆ ซึ่งนํามาใช้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้
1.1 รัฐบาลเป็นแหล่งที่มาของรายได้ของธุรกิจและค่าจ้างของผู้บริโภค รัฐบาลจะมีอิทธิพล
ต่อการกําหนดภาษี และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไว้เองทั้งสิ้นเพื่อจัดเก็บภาษีในการพัฒนาประเทศ
1.2 การจัดเก็บภาษี จะเก็บจากรายได้บุคคล ภาษีการค้า และภาษีทรัพย์สิน ในอัตรา
ก้าวหน้า
1.3 การกําหนดกฎระเบียบข้อบังคับรัฐบาลจัดทําเพื่อคุ้มครองความเป็นอยู่ของประชาชน
ใน การเอารัดเอาเปรียบที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้จัดจําหน่ายสินค้า