Page 131 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 131

125









                        ทัศนคติ (Aptitudes) ขวัญและกําลังใจ (Motivation) และค่านิยมต่างๆ (Value) ซึ่งจะมี

          อิทธิพลต่อการ กําหนดระดับรายได้ของบุคคลทั้งสิ้น
                        5. แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล การทํางานแต่ละอาชีพย่อมมีผลตอบแทนได้แก่เงินเดือน

          ค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ในการพิจารณารายได้ของบุคคล นอกจากจะคํานึงถึงรายได้ที่เป็นตัวเงินแล้วยังต้อง
           4 จึงถึงสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ควรจะได้รับด้วย ซึ่งแหล่งรายได้ที่สําคัญ ได้แก่

                        5.1 เงินเดือน เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการทํางานประจําในหน้าที่การงานแต่ละสาขา ภาชีพ

           เป็นค่าตอบแทนการงานของบุคคล เช่น เงินเดือนของหน่วยงานรัฐบาล  เงินเดือนของรสก เงินเดือนของ
          หน่วยงานเอกชน เงินเดือนในอัตราจ้างปกติ เป็นต้น

                        5.2 รายได้พิเศษ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเงินเดือน  ซึ่งทุกคนสามารถมีรายเดพะคะ
           จากการใช้เวลาว่างจากงานประจํา เช่น นักศึกษาหารายได้พิเศษในช่วงปิดเทอมโดยเป็นพนักงานขาย  KFC

           พนักงานในบริษัทแห่งหนึ่งไปเปิดร้านขายของที่ตลาดนัดหลังเลิกงานแล้ว  เป็นต้น

                        5.3 รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากประจํา เกิดจากการนําเงินที่เหลือหรือเงินที่แยกจากค่าใช้จ่ายจาก
          เงินเดือนประจํา รายได้พิเศษ หรือจากงานอดิเรกต่างๆ ไปฝากตามเงื่อนไขด้านระยะเวลาที่ธนาคารกําหนด

          เช่น ทุกๆ 3 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 1 ปี เป็นต้น

                        5.4 รายได้จากงานอดิเรก เป็นรายได้เสริมที่เกิดจากการทํากิจกรรมเวลาว่างแล้วเกิดรายได้
          ขึ้นมา เช่น การปลูกต้นไม้ การปลูกผักสวนครัว การวาดภาพเหมือน การถักไหมพรม เป็นต้น

                        5.5 รายได้สวัสดิการ เป็นผลตอบแทนต่อเนื่องจากเงินเดือน  ทั้งนี้แล้วแต่นโยบายขององค์กร

          ที่จะจัดสรรงบประมาณมาเป็นรายได้สวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่า
          ประกันสังคม ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าประกันชีวิต รถประจําตําแหน่ง บ้านพักของข้าราชการ เป็นต้น

                        การวัดรายได้ส่วนบุคคล สามารถทําได้ 2 วิธี ดังนี้

                        1. วิธีการปรับรายได้ประชาชาติให้เป็นรายได้ส่วนบุคคล
          รำยได้ส่วนบุคคล = รำยได้ประชำชำติ - รำยได้ครัวเรือน + เงินเดือนครัวเรือนได้รับ

                        2. วิธีการวัดรายได้ส่วนบุคคลโดยตรง เป็นการวัดผลรวมของรายได้เฉพาะที่ครัวเรือนได้รับ

          รวม กับเงินโอนที่ครัวเรือนได้รับในรอบปีนั้น  ๆ
          นอกจากรายได้จะเป็นตัวกําหนดให้แต่ละบุคคลมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่าง  กันแล้ว

          แม้แต่สินค้าชนิดเดียวกัน ความแตกต่างของรายได้ก็ทําให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่ต่างกันได้  เช่น ในการหาที่อยู่

          อาศัย ทางเลือกของคนอาจอยู่วัด อาศัยเพื่อนฝูง หรือเช่าห้องอยู่ เป็นต้น
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136