Page 48 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 48
42
2. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (Government Pension Fund) จัดตั้งขึ้นภายใต้
พระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กระทรวงการคลัง เป็นระบบ บํานาญของ
ข้าราชการ 12 ประเภท ที่กําหนดอัตราเงินสะสมของสมาชิกไว้ที่อัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือน และมีการ
กําหนดอัตราเงินสะสมของภาครัฐ (เงินสมทบ เงินประเดิมและเงินชดเชยที่เรียกว่า Defne
. Contribution) เข้ากองทุน กบข. ซึ่งมีหน้าที่นําเงินไปลงทุน และผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินลงทุนและ
เงิน ของสมาชิกจะถูกจัดสรรเข้าสู่บัญชีสมาชิกรายบุคคล ดังนั้นข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อออก
จากงาน หรือเกษียณจะได้รับเงิน 2 ส่วน คือ (1) เงินบํานาญ จากระบบบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
กรมบัญชีกลาง และ (2) เงินในส่วน กบข. ที่มาจากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ที่ได้จากการ
ลงทุน ระบบ กบข. จึงเป็นระบบบําเหน็จบํานาญแบบ Hybrid ที่ข้าราชการผู้เกษียณอายุจะได้รับเงินจาก
ระบบบําเหน็จบํานาญ ที่แน่นอนจากรัฐบาล และได้รับเงินก้อนจาก กบข. ที่ได้ออมร่วมกันระหว่าง
ข้าราชการและรัฐบาล เพื่อ เสริมให้ข้าราชการมีความมั่นคงด้านรายได้มากขึ้น
ลักษณะกองทุน เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันการจ่ายบําเหน็จบํานาญและให้ประโยชน์ตอบ
แทน แก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดสวัสดิการและสิทธิ
ประโยชน์ อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสําคัญใน
การช่วย ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาตลาดเงินตลาดทุนของประเทศ
อัตราเงินสะสมและเงินสมทบ
* เงินสะสม หมายถึง เงินที่สมาชิกจ่ายสะสมเข้ากองทุน ในอัตรา 3% ของเงินเดือน
* เงินสมทบหมายถึงเงินที่รัฐจ่ายให้กับสมาชิกสะสมเงินเข้ากองทุนในอัตราส่วนที่เท่ากับเงิน
สะสม คือ 3% ของเงินเดือน สําหรับสมาชิกที่รับราชการก่อน พ.ศ. 2540 จะได้รับเงินพิเศษอีก 2 ส่วน
คือ
* เงินชดเชย หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายให้แก่สมาชิก ในอัตรา 2% ของเงินเดือนเดือนมีนาคม
พ.ศ. 2540 ทุกเดือนจนถึงเวลาเกษียณ
* เงินประเดิม หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายจากเงินคงคลังให้สมาชิก (เงินเดือนเดือนมีนาคม 2540
คูณ 25 โดยประมาณ) โดยเข้าบัญชีส่วนบุคคลเมื่อแรกที่สมัครเข้ากองทุน