Page 50 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 50
44
อัตรำเงินสะสมและเงินสมทบ
เงินสะสม หมายถึง เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อตนเอง
* ลูกจ้างทั่วไป: กฎหมายกําหนดให้สะสมในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อย15
ของค่าจ้าง
* รัฐวิสาหกิจ: ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 3 ของเงินเดือน และไม่เกินอัตราที่รัฐวิสาหกิจจ่ายสมทบจะ
* ลูกจ้างประจําของส่วนราชการ ร้อยละ 3 ของค่าจ้างที่สมาชิกได้รับก่อนหักภาษี . ให้ส่วน
ราชการหักจากค่าจ้างที่สมาชิกได้รับก่อนหักภาษี ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง
เงินสมทบ หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากอง
* ลูกจ้างทั่วไป: กฎหมายกําหนดให้สมทบในอัตราไม่ต่ํากว่าเงินสะสมของลูกจ้างและเป็นไป
ตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับของกองทุนพัฒนาการของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
* รัฐวิสาหกิจ: อายุงานไม่เกิน 20 ปี จ่ายสมทบไม่เกินร้อยละ 9 ของเงินเดือน กรณีอายงาน
เกิน 20 ปี จ่ายสมทบไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือน
* ลูกจ้างประจําของส่วนราชการ: ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3
ของค่าจ้างที่สมาชิกได้รับ ก่อนหักภาษีทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง
สิทธิทำงภำษี
* ลูกจ้าง สามารถนํามาลดหย่อนในการคํานวณภาษีได้ โดยหักลดหย่อนตามจ่ายจริง แต่ไม่
เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างและไม่เกิน 490,000 บาท ได้รับ
ยกเว้นไม่ต้องนําไปรวมกับเงินได้ที่เสียภาษี เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส่วนของเงินสะสมได้รับการยกเว้น ภาษี
ส่วนของเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ดังนี้
1) สิทธิประโยชน์กรณีลาออกจากงานก่อนเกษียณ
• กรณีที่มีระยะเวลาทํางานน้อยกว่า 5 ปี ต้องนําเงินที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไป
คํานวณภาษี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น
• กรณีที่มีระยะเวลาทํางานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สามารถเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้อง นําไปรวม
คํานวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น โดยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจํานวนปีที่
ทํางาน ส่วนที่เหลือให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือ แล้วคํานวณภาษีตาม อัตราภาษีเงินได้ ทั้งนี้
จํานวนวันทํางานตั้งแต่ 183 วันขึ้นไปให้นับเป็น 1 ปี หากน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง