Page 139 - การเปนผประกอบการ
P. 139

133










                          2. การประมาณรายจ่าย เป็นการคาดคะเนค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต้องจ่ายในปีหน้า หากเป็น
           เงินจํานวนมากก็จําเป็นที่จะต้องมีการวางแผนรายจ่ายเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า สื่อจะได้มีเงินเพียงพอจ่าย  การ

           คาดคะเนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะประมาณตัวเลขจากค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง

                          3. การจัดทํางบประมาณเป็นการวางแผนประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่คาดว่า

           จะเกิด ล่วงหน้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าในช่วงเวลาหนึ่งนั้น  บุคคลมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย

           หรือไม่อย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงควรกําหนดการจัดทํางบประมาณเกี่ยวกับงบประมาณรายได้ส่วนบุคคล  และ

            งบประมาณรายจ่ายส่วนบุคคล เพื่อให้การวางแผนการจัดสรรการออมส่วนบุคคลให้เป็นไปตามเป้าหมาย

                          เงินสดส่วนเกิน (ขาด) หมายถึง ผลต่างระหว่างรายได้และรายจ่าย ซึ่งบอกให้ทราบ ถึงเงิน

           สดคงเหลือ (ขาด) เช่น ผลต่างเท่ากับ 0 บอกให้ทราบว่าในช่วงระยะเวลานั้นรายได้ของบุคคลเท่ากับ

            รายจ่ายพอดี และหากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายแสดงว่ามีเงินสดเหลือใช้  ถ้าหากรายจ่ายมากกว่ารายได้แสดง
            ว่าเงินสดขาดมือ กรณีเงินสดเหลือใช้  ก็จะเพิ่มเงินออมและส่วนของเจ้าของก็จะเพิ่มขึ้น  ซึ่งสามารถนํามา

            ลงทุนตามวัตถุประสงค์ได้คืออาจจะซื้อทรัพย์สินเพิ่มหรือลดหนี้สินลง  (ชําระหนี้) มีผลให้รายได้ในอนาคต

            เพิ่มขึ้นหรือลดค่าใช้จ่ายในอนาคตลง  ในทางตรงกันข้ามกรณีเงินสดขาดมือ  เงินออมและการลงทุนจะลดลง

           กล่าวคือ สินทรัพย์ลดลงหรือการกู้ยืมเพิ่มขึ้น

                          4. การสรุปงบประมาณเมื่อจัดทํางบประมาณรายได้รายจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว  ขั้นต่อไปให้

           นําเอา งบรายได้รายจ่ายนี้มาเปรียบเทียบหักลบกัน ก็จะทราบว่าเดือนใดมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก็จะมีเงิน

           คงเหลือหรือเกิดงบประมาณเกินดุล  เดือนใดที่รายได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายเงินสดจะขาดมือหรือเกิด

           งบประมาณ ขาดดุล เมื่อทราบเงินสดเหลือใช้และเงินสดขาดมือก็จะได้จัดการนําเงินสดเหลือใช้ไปลงทุนหา

           ผลประโยชน์ และจัดหาเงินมาชดเชยในเดือนที่คาดว่าเงินสดจะขาดมือต่อไป
                          การนําเงินสดที่เหลือใช้ไปหาผลประโยชน์ในช่วงสั้นๆ  อาจจะฝากบัญชีออมทรัพย์กับ

           ธนาคาร หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง  เมื่อจําเป็นก็อาจจะขายและนําเงินมาชดเชยเดือนที่เงินสด

           ขาดมือได้ แต่หากเงินคงเหลือใช้หลายเดือนติดต่อกันก็อาจจะนําไปชําระหนี้เงินกู้เพื่อลดรายจ่ายดอกเบี้ย

                          5. การควบคุมและปรับปรุงงบประมาณรายได้และรายจ่าย เป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายที่

           เกิดขึ้นจริง เห้อยู่ในกรอบของงบประมาณที่วางไว้โดยบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง  แล้วเปรียบเทียบกับ

           งบประมาณ ในเดือนเดียวกัน
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144