Page 143 - การเปนผประกอบการ
P. 143

137










                          2. งบประมาณรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นการคาดคะเนค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต้องจ่ายในปีหน้า
           เพื่อจะได้มีเงินพอไว้ใช้จ่าย  โดยการคาดคะเนจากตัวเลขค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในปีที่ผ่านมา โดยใช้ราคา ใน

           ปัจจุบันเป็นเกณฑ์ในการตีราคา เมื่อมีรายได้สูงขึ้น ควรนําเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนทางใดทางหนึ่งที่  จะทําให้

           มีผลตอบแทนมากขึ้นจากการลงทุนนั้น การลงทุนในที่อยู่อาศัยก็เป็นการลงทุนที่ดีวิธีหนึ่ง  เนื่องจาก บ้านและ

           ที่ดินจะไม่มีค่าเสื่อมราคาเมื่อเวลาผ่านไป  ราคาบ้านและที่ดินจึงมีราคาสูงขึ้นตามระยะเวลาของ การใช้งาน

                          การจัดทํางบประมาณรายจ่ายส่วนบุคคล คือ การวิเคราะห์ย้อนหลังถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นใน

           ปี ที่ผ่านมา เพื่อดูการใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ว่ารายจ่ายรายการใดที่ควรจัดให้มีไว้ในงบประมาณได้

           ในรายการรายจ่ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

                          1. รายจ่ายประจํา หมายถึง รายจ่ายที่เป็นภาระผูกพันและมีรอบระยะเวลาการจ่าย

           สม่ําเสมอ ตลอดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
                          2. รายจ่ายแปรได้ จะเป็นรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝันหรือเป็นรายจ่ายที่มี การตั้ง

           งบประมาณไว้ว่า อาจจะมีการจ่ายเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น ค่าซ่อมแซมบ้าน รายจ่ายพักผ่อน

           ประจําปี เงินบริจาคการกุศล รายจ่ายเพื่อซื้อวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

                          3. รายจ่ายกึ่งประจํากึ่งแปรได้เป็นรายจ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น

            เป็นประจําก็ตาม แต่จํานวนเงินในแต่ละรอบระยะเวลาเป็นจํานวนที่ไม่แน่นอน เช่น ฤดูร้อน ค่าไฟฟ้าและ

            ค่าน้ําประปาจะสูงกว่าฤดูหนาว หรือค่าโทรศัพท์ในเดือนที่มีวันหยุดมากจะสูงกว่าในวันหยุดน้อย

                          ตัวอย่ำงงบประมำณรำยจ่ำยส่วนบุคคล 3 เดือนแรกในปี พ.ศ. 25xx


             แหล่งที่มาของรายจ่าย                     3 เดือนแรกในปี พ.ศ. 25x

                                          ม.ค.                 ก.พ.                  มี.ค.
             ชําระดอกเบี้ยเงินกู้       300,000              300,000               300,000

             ค่าบํารุงรักษาบ้าน          20,000               14,000                6,000

             ค่าน้ํามันรถยนต์            10,000               10,000               12,000

             ค่าประกันชีวิต              50,000               50,000               50,000
             ค่าประกันภัย                4,000                 4,000                4,000

             ภาษีเงินได้                 3,000                 3,500                4,000

             รวมรายจ่ายทั้งสิ้น         387,000              381,500               358,000
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148