Page 15 - ชุดการสอนศาสนา
P. 15
15
1.นั่งท่าสมาธิคือ นั่งขัดตะหมาด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางทับมือซ้าย ตั้งตัวตรงด ารง
2.หลับตาหรือลืมตาก็ได้อย่างไหนได้ผลดีก็ปฏิบัติอย่างนั้น
3.ก าหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจกระทบตรงไหนก็รู้ชัดเจนให้ก าหนดตรงจุดนั้น
4.เมื่อลมหายใจ-ออก จะก าหนดภาวน าด้วยหรือไม่ก็ได้แล้วแต่บุคคลที่ปฏิบัติ
5.ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ จนได้เวลาพอควรแก่ร่างกายจึงออกจากการปฏิบัติ
6.แผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลายการปฏิบัติระยะแรกๆ จิตอาจฟุ้งซ่าน สงบได้ยาก หรือไม่
นาน ต้องใช้ความเพียรพยายาม หมั่นฝึกปฏิบัติบ่อยๆ จิตจึงจะค่อยสงบตามล าดับ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ
จิตใจสงบ เยือกเย็น แจ่มใส เบิกบาน มั่งคง เข้มแข็งมีพลัง มีความจ าดีขึ้น และที่ส าคัญ คือ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น
ตามมาด้วย
ประโยชน์ของกำรบริหำรจิตเพื่อสติและสมำธิ
1. ด้านการด ารงชีวิตประจ าวัน ได้แก่ การท าจิตใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวล ความเครียดมีความจ าดี
ขึ้น แม่นย าขึ้น ท าสิ่งต่างๆ ไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อย เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้นการศึกษาเล่าเรียนและการท
ท างาน เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การมีจิตเป็นสมาธิ ยังท าให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท รวมทั้ง
มีผลเกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกายเช่น ชะลอความแก่ ท าให้ดูอ่อนกว่าวัย และรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความ
ดันโรคกระเพาะอาหาร
2. ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ ท าให้บุคลิกภาพเข็มแข็ง หนักแน่นมั่นคง สงบเยือกเย็นไม่
ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด มีความสุภาพอ่อนโยน ดูสง่ามีราศี องอาจน่าเกรงขาม มีอารมณ์เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส
กระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่า ไม่เซื่องซึม สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้
3. ด้านประโยชน์สูงสุด ได้แก่ การบรรลุมรรคและนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ผู้ที่จะบรรลุถึงประโยชน์ระดับนี้ได้นั้น ต้องมีจิตที่สงบแน่วแน่มาก คือ ต้องได้สมาธิระดับสูง