Page 11 - กลุ่ม3ปรัชญา
P. 11
๘
พ.ศ.๒๔๘๗ เลิกล้มการจัดการฝึกหัดครูประถมในโรงเรียนราษฎร์ ๓ แห่ง คือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เนื่องจากรัฐบาลพิจารณาว่ารัฐควรเป็นผู้จัดแต่ฝ่ายเดียว
(กระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู. (ม.ป.ป.): ๙๕-๙๘;ครูบ้านนอกดอทคอม. ๒๕๕๑: ออนไลน์)
ตัวอย่างสถาบันการผลิตครู
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖
โดยมีจุดมุ่งหมายผลิตครูสอนชั้นมูลศึกษาเพื่อผลิตครูที่มีคุณภาพไปสอนตามหัวเมือง เริ่มเปิดสอนเมื่อ วันที่ ๑
พฤษภาคม การจัดการศึกษาฝึกหัดครูระยะนั้นได้ขยายตัวออกไปต่างจังหวัดมากขึ้นจึงทำให้ความจำเป็นที่จะส่ง
นักเรียนมาเรียนที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาลดน้อยลงทางราชการเห็นว่าการฝึกหัดอาจารย์ที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์
สูงสุดควรจัดโรงเรียนประจำจึงย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ซึ่งเป็นนักเรียนกลางมาอยู่ที่โรงเรียน ฝึกหัด
ครูฝั่งตะวันตกแล้วเรียกชื่อใหม่ว่าโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ คุณวิเทศดารุณกิจเป็น
อาจารย์ใหญ่และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก เป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์
บ้านสมเด็จเจ้าเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) แต่ยังคงตั้งอยู่
ที่เดิมจนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปอยู่ที่วังใหม่ (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) ทำให้จวน
ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่าง ทางราชการจึงได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า
“โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” และเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๕๘ ได้ทำการรับนักเรียนประจำโดยมี
โรงเรียนใกล้เคียงเข้าร่วมสาขาของสถานศึกษาแห่งนี้ ได้แก่ อนงค์ โรงเรียนสุขุมาลัย (ตั้งอยู่บริเวณวัดพิชัยญาติ)
และโรงเรียนประถมวัดอนงค์ ซึ่งมีพระยาประมวลวิชาพูล เป็นอาจารย์ใหญ่
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการได้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) และได้ตัดถนนผ่าน
โรงเรียนมัธยมเจ้าพระยา สถานที่นี้จึงถูกรื้อถอนไม่สามารถทำเป็นโรงเรียนได้อีกต่อไป พระยาวิเศษศุภวัตร์ซึ่งเป็น
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในสมัยนั้นได้เจรจาผ่าน กระทรวงธรรมการเพื่อขอแลกเปลี่ยน
สถานที่กับโรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนขนาดเล็กและมีนักเรียนจำนวนน้อย ดังนั้นสถานที่ของโรงเรียนศึกษานารี
เดิมจึงก่อสร้างเป็นโรงเรียนมัธยมเจ้าพระยาบ้านสมเด็จและกระทรวงพระคลังมหาสมบัติยังได้มอบที่ดินบริเวณ