Page 8 - กลุ่ม3ปรัชญา
P. 8

๕


                       พ.ศ.๒๔๓๘ มีการเปิดอบรมครูครั้งแรกที่ “วิทยาทานสถาน” มีการจัดอบรมครู เพื่อเพิ่มพูนความรู้

               ใหม่ๆ ให้แก่ครู มีการควบคุมและรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพครูของไทยโดยผู้อบรมครูคนแรก คือ

               เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)


                       พ.ศ.๒๔๔๓ มีการจัดตั้งสภาสำหรับอบรมและประชุมครูขึ้นที่วัดใหม่วินัยชำนาญ แขวงบางกอกน้อย

               จังหวัดธนบุรีใช้ชื่อว่า“สภาไทยาจารย์”ก่อเกิดหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์เล่มแรกซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของครูออก

               ในเดือนพฤศจิกายน



                       พ.ศ.๒๔๔๕ กรมศึกษาธิการจัดตั้ง “สามัคยาจารย์สโมสรสถาน” เพื่อใช้เป็นที่ประชุมอบรมและสอนครู

               ขึ้น   ที่โรงเรียนทวีธาภิเษก ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบ)


                       พ.ศ.๒๔๔๖ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ผลิตครูสอนชั้นมูลศึกษา เพื่อส่งไป

               สอนหัวเมือง


                       พ.ศ.๒๔๔๗  สามัคยาจารย์โมสรสถานยกฐานะเป็นสมาคมใช้ชื่อ “สามัคยาจารย์สมาคม” กิจการของ

               สามัคยาจารย์สมาคมได้สร้างความเจริญเพิ่มพูน ความรู้และความสามัคคีให้แก่ครูด้วยดีมาเป็นเวลา ๔๐ ปีเศษ


                       พ.ศ. ๒๔๔๙ รวมโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์วัดเทพศิรินทรทราวาสเข้ากับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก

               เป็นโรงเรียนประจำ ให้ชื่อว่าโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ กำหนดหลักสูตร ๒ ปีจัดเป็นโรงเรียนชั้นอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง


               รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา


                       พ.ศ.๒๔๕๐ เปิดแผนกฝึกหัดครูหญิงที่โรงเรียนมัธยมสตรีวิทยา โรงเรียนที่จัดฝึกหัดครูหญิงอีกแห่งหนึ่ง

               คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (วัฒนาวิทยาลัย)  (กระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู.  ม.ป.ป.: ๙๕-๙๖;

               ผ่องพรรณ สิทธิชัย; และคนอื่นๆ.  ๒๕๕๗: ๒๗๐-๒๗๓)


                       พ.ศ.๒๔๕๖ จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม

               ๒๔๕๖ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๕๘ โอนโรงเรียนฝึกหัดครูประถมจากโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาไปเป็นหมวดหนึ่งใน

               โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวันต่อมา

               พ.ศ.๒๔๕๙ สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


                       พ.ศ.๒๔๕๗ จัดตั้งโรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมาซึ่งต่อมาคือวิทยาลัยครู
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13