Page 5 - กลุ่ม3ปรัชญา
P. 5
๒
ศึกษานารี ในปัจจุบัน) หรือที่เรียกว่าโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก ซึ่งโรงเรียนนี้นักเรียนทั้งกรุงเทพ ฯ และหัวเมือง
ที่ไม่มีที่พักอาศัย ก็ให้อยู่กินในโรงเรียนพร้อมมีเบี้ยเลี้ยง โรงเรียนแห่งนี้สอนให้เป็นครูชั้นมูลศึกษาเมื่อสำเร็จแล้วจะถูก
ส่งไปสอนตามหัวเมือง ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้ย้ายไปรวมอยู่กับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก
และได้เปลี่ยนเป็นรับนักเรียนประจำคือรับทั้งนักเรียนทั่วกรุงเทพฯและหัวเมือง ให้อยู่ประจำทุกคนมี หลักสูตร ๒ ปี
ต่อมามีการเพิ่มเติมหลักสูตรให้กว้างยิ่งขึ้นการรับนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้เป็นโรงเรียนชั้น
อุดมศึกษาในกรมศึกษาธิการรับนักเรียนที่มีความรู้ที่สูงขึ้นหรือพ้นมัธยมแล้ว เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์
ในพ.ศ. ๒๔๕๑ นักเรียนในโรงเรียนนี้และโรงเรียนราชแพทยาลัยได้รับยกเว้นการรับราชการทหารชั่วคราว
ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน ต้องมีการยืนเอกสิทธิ์อย่างหนึ่งให้แก่นักเรียนชั้นอุดมศึกษา
โรงเรียนฝึกหัดครูเจริญขึ้นเป็นลำดับ ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ มีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง ๒๖ คน ใน พ.ศ. ๒๔๕๖
โรงเรียนได้ขยายให้สูงขึ้นเป็นแผนกฝึกหัดครูมัธยมการรับนักเรียนแผนกนี้จะมีการสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรอาจารย์
ประถมแล้วสมัครเข้าฝึกหัดเป็นอาจารย์มัธยมต่อไป ส่วนนักเรียนที่สอบไล่ได้ มัธยมสามัญแล้วเข้าเรียน
จะเป็นนักเรียนฝึกหัดครูด้วยกัน ๖ ประเภท
๑.นักเรียนสอนประถม ผู้ผ่านการสอบไล่ชั้นประถมศึกษาและครูในโรงเรียนที่สอนนั้นเมื่อตรวจเห็นว่ามีนิสัย
จะเป็นครูได้ในภายหน้ากรมศึกษาธิการจึงแยกย้ายไปฝึกหัดการเป็นครู ให้ครูจัดการสอนนักเรียนและรู้จักการเรียน
ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความใฝ่รู้และความชำนาญที่จะเป็นครูซึ่งจะต้องเสียค่าบำรุงการเล่าเรียนเดือนละ ๑๐ บาท
ต่อคน ถ้านักเรียนมีความสามารถก็จะได้เข้าเป็นนักเรียนครูชั้นประถม กลับไปเรียนตามเดิม
๒.นักเรียนสอนภาษาต่างประเทศได้แก่กลุ่มนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาพิเศษอังกฤษสามารถที่จะทำการ
สอบไล่ได้ตลอดหลักสูตรของโรงเรียนส่วนนักเรียนที่มีความก้าวหน้ากรมศึกษาธิการจึงให้เป็นนักเรียนสอนคือมีเวลา
ฝึกหัดสอนคู่กับการมีเวลาของตนซึ่งจะได้เงินทุนเล่าเรียน เดือนละ ๓๐ บาท ถ้ามีผลการเรียนดีเมื่อมีโอกาสก็จะได้
ออกไปศึกษาวิชาชีพครู และวิชาพิเศษที่ต่างประเทศด้วยทุนเล่าเรียนหลวง
๓. นักเรียนครูชั้นมูล ได้แก่นักเรียนซึ่งเข้าฝึกหัดเล่าเรียน ณ โรงเรียนฝึกหัด ครูฝั่งตะวันตก มี ๒ พวก คือ
ก. นักเรียนที่เจ้าคณะมณฑลส่ง สำหรับฝึกหัดออกไป เป็นครูมณฑลต่าง ๆ
ข. ผู้ที่เป็นครูมีความรู้เป็นพื้นอยู่แล้วแต่สมัครเข้าเป็นนักเรียนครูเพื่อได้รับประกาศนียบัตรเป็นครู
สอนชั้นมูลศึกษาในกรุงเทพฯต่อไปเป็นพระสงฆ์,คฤหัสถ์มีค่าบำรุงการเล่าเรียนตามอัตราเหมือน
นักเรียนที่เจ้าคณะมณฑลส่งมา