Page 7 - กลุ่ม3ปรัชญา
P. 7
๔
ตามรายงานกระทรวงธรรมการ พ.ศ.๒๔๕๐ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมสตรีวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีแห่งเดียวที่รัฐบาล
จัดตั้งขึ้นเปิดสอนถึงชั้นมัธยมเพื่อผลิตครูไปสอนตามโรงเรียนหญิงอื่น ๆ นอกจากสอนตามหลักสูตรแล้วนักเรียน
ที่รับเข้าฝึกหัดในแผนกวิชาครูนี้ต้องสำเร็จชั้นประโยคมัธยมศึกษา แต่ในขณะนั้นผ่านสอบไล่ได้ชั้นประโยค
มัธยมศึกษาได้ยากจึงรับนักเรียนที่มีความรู้เพียงชั้นสองของประโยคมัธยมไปพลาง ๆ ก่อนเมื่อถึงปลายปีต้องเข้า
การสอบไล่ พ.ศ. ๒๔๕๐ มีนักเรียนแผน ฝึกหัดครู ๗ คน
อีกหนึ่งแห่ง ที่จัดการฝึกหัดครูหญิง ก็คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง นักเรียนที่สอบไล่ได้รับ
ประกาศนียบัตร ของโรงเรียนแล้ว สมัครเป็นครูฝึกหัดเป็นครูต่อไป โรงเรียนก็รับไว้ฝึกสอนจะมีเบี้ยเลี้ยงของ
โรงเรียนให้ส่วนครูที่ได้ ฝึกหัดในโรงเรียนนี้ ได้ออกมารับราชการในกรมศึกษาธิการหลายคน (กำธร สถิรกุล.
๒๕๐๗: ๑๐๑-๑๐๗)
พัฒนาการการก่อตั้งสถาบันการฝึกหัดครู
พ.ศ.๒๔๑๔ ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังโดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูล)
ในขณะที่เป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่และมีการจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่น ๆ เช่น โรงเรียนหลวงสำหรับ
สอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง (สันติ บุญภิรมย์. ๒๕๕๗: ๔๑)
พ.ศ.๒๔๒๗ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพฯ หลายแห่ง แห่งแรกคือ
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม (สันติ บุญภิรมย์. ๒๕๕๗: ๔๑)
พ.ศ.๒๔๓๕ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรก ที่บริเวณโรงเลี้ยงเด็กสะพานดำ พระนคร มีนายเอชกรีนรอด
ชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์ใหญ่ เปิดสอนเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาย้ายไปอยู่วัดเทพศิรินทราวาส
เรียกว่าโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์วัดเทพศิรินทราวาส
พ.ศ. ๒๔๓๗ นักเรียนฝึกหัดครูยุคแรก ๓ คน คือ ในปีแรกมีนักเรียน ๓ คน คือ คนคือนายสนั่น เทพ
หัสดิน ณ อยุธยา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีตรี) นายสก ผลพันธิน (หลวงสังขวิทย์วิสุทธิ์) และนายเหม ผลพันธิน
(พระยาโอวาทวรกิจ) (กำธร สถิรกุล. ๒๕๐๗: ๑๐๑)