Page 8 - digital literacy
P. 8
หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy Curriculum)
1.2 การเข้าถึงสื่อดิจิทัล
ผู้ศึกษาจ าเป็นต้องเข้าใจอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางต่าง ๆ รวมถึง
ข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทางได้ เพื่อให้สามารถใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก
อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจ าเป็นต้องเข้าใจสื่อทางดิจิทัลชนิดต่าง ๆ รวมถึง
การน าไปประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน
1.3 การสื่อสารยุคดิจิทัล
ผู้ศึกษาจ าเป็นต้องมีความเข้าใจการสื่อสารผ่านทางสื่อ และเครื่องมือทางดิจิทัลในแง่มุมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสม ความแตกต่าง ความเสี่ยงของสื่อ และเครื่องมือพร้อมทั้งสามารถสื่อสาร
โดยการใช้ข้อความหรือถ่อยค าอย่างสร้างสรรค์ มีประโยชน์ และเคารผู้อื่น เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
นอกจากนี้ยังรวมถึง ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่บนสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนเป็น
ข้อเท็จจริง สิ่งไหนเป็นความเห็น สิ่งไหนเป็นความจริงบางส่วน สิ่งไหนเป็นความจริงเฉพาะเหตุการณ์
นั้น ๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการสื่อสารทางดิจิทัล
1.4 ความปลอดภัยยุคดิจิทัล
ผู้ศึกษาจ าเป็นเข้าใจความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว และการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ในการใช้
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล รวมถึงภัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในแง่วิธีการที่ได้รับการคุกคาม
ผลกระทบที่เกิดขึ้น การป้องกัน การลดความเสี่ยง ต่อภัยเหล่านั้น
1.5 ความเข้าใจสื่อดิจิทัล
ผู้ศึกษาจ าเป็นต้องมีความเข้าใจสารสนเทศและสื่อในยุคดิจิทัล เพื่อที่สามารถระบุข้อมูลที่
ต้องการหาข้อมูลนั้น ประเมินประโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลนั้น
จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากนั้นผู้ศึกษายังจ าเป็นต้องสามารถน าข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นความรู้ เพื่อ
น าไปใช้ประโยชน์ผ่านทางการน าเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 แนวทางปฏิบัติในยุคดิจิทัล
ผู้ศึกษาจ าเป็นต้องทราบ แนวทางปฏิบัติในสังคม มารยาท และ พฤติกรรมอันพึงปฏิบัติเมื่อ
อยู่ร่วมในสังคมดิจิทัล เพื่อไม่สร้างความเดือดร้อน ความร าคาญ ความเครียด ความกังวลใจ รวมถึง
เป็นสาเหตุของปัญหาทางสภาพจิตของบุคคลอื่นและตัวเอง การประพฤติตามมารยาทที่เหมาะสม จะ
ท าให้สังคมยอมรับ นับถือ และให้เกียรติเราดังนั้นมารยาทในสังคมดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็นต้อง
เรียนรู้ และปูพื้นฐานไว้ในการใช้งานสังคมดิจิทัล
3