Page 33 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 33
สถำบันกำรเงิน
การด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน ธุรกิจ หรือรัฐบาล จะต้องใช้เงินลงทุนใน
การด าเนินการทั้งนั้น ซึ่งในระบบเศรษฐกิจของทุกประทศจะมีหน่วยงานที่ส าคัญที่เรียกว่าสถาบันการเงิน ท า
หน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องการเงินของประเทศซึ่งมีทั้งสถาบันการเงิน ที่ประกอบกิจการธนาคารและ
สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการ
ควำมหมำยของสถำบันกำรเงิน
สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ท าธุรกิจในรูปของการกู้ยืมและให้กูยืมเงินหรือเป็นสถาบัน ที่ท า
หน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ให้กู้ยืมและผู้ขอกู้ โดยอาศัยเครื่องมือหรือตราสารทางสถาบันการเงินและ
รับภาระการเสี่ยงจากการให้กู้ยืมแทน ส่วนรายได้จากสถาบันการเงินมาจากความแตกต่างระหว่าง อัตรา
ดอกเบี้ยที่ได้รับจากผู้ขอกู้ และอัตราดอกเบี้ยซึ่งต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้
สถาบันการเงิน หมายถึง องค์การทางการเงินที่ท าหน้าที่เป็นตัวกลางในการอ านวยความสะดวกใน
เรื่องการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนย้ายของเงิน สถาบันทางการเงินเป็นผู้ท าหน้าที่ในการรับฝากจากหน่วยเกินดุล
การให้กู้ยืมแก่หน่วยขาดดุล ซึ่งเป็นการรวบรวมเงินออมจากผู้ออมไปยังผู้ลงทุน การซื้อขายหลักทรัพย์และ
หน้าที่อื่นๆ
สถาบันการเงินเป็นองค์การที่ด าเนินการเกี่ยวกับธุรกิจการเงินหรือการให้สินเชื่อ ดังนั้น สถาบัน
การเงินจึงมีความส าคัญ ดังนี้
1. กำรเป็นตัวกลำงในกำรระดมเงินออม จากผู้ที่มีเงินเหลือใช้ แล้วน ามาจัดสรรให้กู้แก่ผู้ที่ขาดเงินออมและ
ต้องการใช้เงินออมไปลงทุน
2. กำรรับภำระควำมเสี่ยงบำงส่วนแทน ผู้ออมและผู้กู้เงิน กล่าวคือ ลดภาระเสี่ยงภัยของผู้ออมจากการน า
เงินออมนั้นไปหาดอกผลและ ลดภาระเสี่ยงภัยของผู้กู้ เนื่องจากเป็นการกู้ยืมตามกฎหมายและอัตราดอกเบี้ย
เป็นไปตามที่กฎหมายก าหนด
3. กำรสร้ำงสภำพคล่องให้สินทรัพย์ทำง การเงินต่างๆ โดยสถาบันการเงินให้การค้ าประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน
หุ้นหรือหลักทรัพย์บางประเภทท าให้สินทรัพย์เหล่านั้นได้รับความเชื่อถือ มีตลาดและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
ประเภทของสถำบันกำรเงิน
สถาบันการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารและสถาบัน การเงิน
ที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร