Page 28 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 28
ข้อมูลทางการค้าเป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ถึงข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใดไม่ว่าการสื่อ
ความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใดๆ หรือจัดท าไว้ในรูปแบบใดก็ตาม นอกจากนี้ ข้อมูลทางการค้ายังรวมถึงสูตร
รูปแบบงานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิคหรือกรรมวิธีต่างๆ เช่น สูตรยา สูตรอาหาร
สูตรเครื่องดื่ม สูตรเครื่องส าอาง กรรมวิธีการผลิต ข้อมูลการบริหารธุรกิจ รายละเอียดเกี่ยวกับราคาสินค้า
บัญชีรายชื่อลูกค้า กลยุทธ์การโฆษณา สินค้า ซึ่งเจ้าของมีสิทธิที่จะเปิดเผยหรืออนุญาตให้ผู้อื่นเปิดเผย เอาไป
หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้า
กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้ เกิดการ
กระท าอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ใดละเมิดสิทธิดังกล่าว เช่น การ เปิดเผย เอาไปหรือใช้
ความลับทางการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่มีลักษณะขัดกับ การปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ ผิด
สัญญา ละเมิด จูงใจ ติดสินบน ข่มขู่ ฉ้อโกง ลักทรัพย์ รับของโจร โจรกรรม โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้รู้โดยทั่วไป หรือเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายในธุรกิจด้วย
การโฆษณา กระจายเสียง หรือแพร่ภาพ จะมีโทษจ าคุกหรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
6. พระรำชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทำงภูมิศำสตร์ พ.ศ. 2546
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และ
สามารถบอกได้ว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงหรือ มีคุณลักษณะ
เฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว
กฎหมายว่าด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีความส าคัญและเป็นประโยชน์ เนื่องจากป้องกันมิให้
ประชาชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยให้มีการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์
ส าหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ และห้ามใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จะท าให้เกิด ความสับสนในแหล่ง
ภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน โดยการขอขึ้นทะเบียนนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับท้องถิ่นหรือ
สถานที่ภูมิศาสตร์นั้น
ตัวอย่างเช่น ไข่เค็มไชยามีลักษณะเฉพาะที่ผู้บริโภคพึงพอใจ คือ มีไข่แดงใหญ่และสดที่เกิด จาก
อาหารตามธรรมชาติที่เป็ดกินและมีอยู่ในท้องถิ่นนั้นเท่านั้น แม้ว่าจะน าเป็ดพันธุ์เดียวกันไปเลี้ยงที่จังหวัดอื่นก็
จะไม่ได้ไข่ที่มีลักษณะเดียวกัน เช่นนี้ถือได้ว่าคุณภาพของไข่เค็มไชยานั้นมีความ สัมพันธ์กับท้องถิ่นแล้ว สิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว เช่น ไข่เค็มไชยาย่อมท าให้คนในท้องถิ่นของอ าเภอไซยาที่ท าการผลิตไข่เค็ม
เท่านั้นที่มีสิทธิ์ใช้ค าว่า ไข่เค็มไชยากับไข่เค็มที่ผลิตขึ้นได้ คนในท้องถิ่นอื่นแม้จะผลิตไข่เค็มออกขาย
เช่นเดียวกันก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ค าว่า ไข่เค็มไชยา แต่หากมีการละเมิดโดยมีบุคคลอื่นใช้ค าดังกล่าวเพื่อแสดงหรือท า