Page 24 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 24
2. ทรัพย์สินทำงอุตสำหกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม เช่น
การประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งอาจเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้
ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ที่เป็นองค์ประกอบหรือรูปร่างความ
สวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมาย การค้าหรือยี่ห้อ ชื่อ และถิ่นที่อยู่ทางการค้า
ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอุตสาหกรรมประกอบด้วย สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ชื่อ
ทางการค้า แบบผังภูมิวงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์
กฎหมำยที่เกี่ยวกับกำรคุ้มครองทรัพย์สินทำงปัญญำ
เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีความส าคัญต่อมนุษยชาติ ดังนั้น กฎหมายจึงก าหนดให้ ผู้ประดิษฐ์มี
สิทธิในการปกป้องผลผลิตที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ของตนเอง ส าหรับกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่
ส าคัญของไทยมี 7 ฉบับ ดังนี้
1. พระรำชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
สิทธิบัตร คือ หนังสือส าคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้
กฎหมายสิทธิบัตรมีความส าคัญมากเนื่องจากเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่นัก
ประดิษฐ์เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนความมานะอุตสาหะอย่างเหมาะสม ซึ่งจะท าให้นักประดิษฐ์มีก าลังใจที่จะ
ประดิษฐ์คิดค้นเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไป สิทธิบัตรมี 2 ประเภท ได้แก่
1) สิทธิบัตรกำรประดิษฐ์ คือ หนังสือส าคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการคิดค้นหรือคิดท าขึ้น เพื่อเป็น
ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใหม่ หรือการท าให้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดีขึ้น สิทธิบัตร ประเภทนี้จะมี 3 ลักษณะ
ได้แก่
1.การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
2.การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอน สูงขึ้นที่ไม่พบเห็นได้ง่ายในงานประเภทนั้น
3.การประดิษฐ์ที่ประยุกต์ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม
สิทธิบัตรประเภทนี้มีอายุ 20 ปี ผู้ที่ได้รับสิทธิบัตร จะเรียกว่าผู้ทรงสิทธิบัตร ส าหรับสิทธิบัตร
ผลิตภัณฑ์ ผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือน าเข้ามาในราชอาณาจักร
ส่วนสิทธิบัตรกรรมวิธี ผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิในการใช้กรรมวิธีผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือ
น าเข้ามาในราชอาณาจักร