Page 25 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 25

2) สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ หนังสือส าคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองรูปร่างของ ผลิตภัณฑ์หรือ

               องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพิเศษเพื่อใช้เป็นแบบส าหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

               และหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรประเภทนี้มีอายุ 10 ปี ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นที่มีสิทธิใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์

               ตามสิทธิบัตร หรือขาย หรือมีไว้เพื่อขาย หรือ เสนอขาย หรือน าเข้ามาในราชอาณาจักร


                       ส าหรับผู้ทรงสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวมีสิทธิใช้ค าว่า สิทธิบัตรไทยหรือ สบท. หรืออักษร
               ต่างประเทศที่ผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณาการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของตนได้

               นอกจากสิทธิบัตรแล้ว กฎหมายยังก าหนดให้มีอนุสิทธิบัตร หมายถึง หนังสือส าคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการ

               ประดิษฐ์ 2 ประเภท คือ การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และการประดิษฐ์ที่ประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม อนุสิทธิบัตร

               นี้มีอายุ 6 ปี ผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีสิทธิใช้ค าว่า อนุสิทธิบัตรไทย หรือ อสบท. หรืออักษรต่างประเทศที่ผลิตภัณฑ์

               ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณาการประดิษฐ์ของตนเองได้


                       เนื่องจากสิทธิบัตรเป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักประดิษฐ์ ดังนั้น ผู้ใด

               ต้องการใช้สิ่งที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ท าขึ้นและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวไปเพื่อการผลิต ใช้ ขาย

               มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือน าเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้ทรงสิทธิบัตรนั้น
               แต่หากผู้ใดผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือน าเข้ามาในราชอาณาจักร สิ่งประดิษฐ์หรือออกแบบ

               ผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร เช่น ผู้ใดใช้ค าว่า สิทธิบัตรไทย (สบท.) อนุ

               สิทธิบัตรไทย (อสบท.) ที่ผลิตภัณฑ์ภาชนะ บรรจุ หรือหีบห่อผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณาการประดิษฐ์ หรือการ

               ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทรงสิทธิบัตร ถือว่าได้กระท าความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรและจะต้อง

               ได้รับโทษตามที่กฎหมาย ก าหนดส าหรับความผิดนั้น


                       2. พระรำชบัญญัติเครื่องหมำยกำรค้ำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543


                       กฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เกี่ยวกับ
               ลักษณะของเครื่องหมาย 4 ประเภท ได้แก่


                       1) เครื่องหมำยกำรค้ำ คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของตนเอง

               แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น เครื่องหมายการค้าจะมีหลายลักษณะ ได้แก่ ภาพถ่าย

               ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ ค า ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของ

               วัตถุก็ได้ และเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วผู้ที่จดทะเบียนจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้

               เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตนก็ได้
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30