Page 23 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 23
ทรัพย์สินทำงปัญญำ
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิด ปัญหาต่อผู้
สร้างสรรค์ในงานลิขสิทธิ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเทศไทยมีปัญหาการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาใน
รูปแบบที่หลากหลายเป็นจ านวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคในสังคมไทยนิยมซื้อของถูกโดยไม่ได้ให้ความส าคัญกับ
เรื่องของลิขสิทธิ์ในตัวสินค้า รัฐจึงก าหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและหนึ่งในมาตรการนี้ คือ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ควำมหมำยและควำมส ำคัญของทรัพย์สินทำงปัญญำ
ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลผลิตที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ อันได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม และ
งานศิลปะ รวมทั้งเครื่องหมาย ชื่อ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการค้า
ทรัพย์สินทางปัญญามีความส าคัญต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่นิยมที่จะน า ทรัพย์สินทาง
ปัญญาโดยเฉพาะเครื่องหมายการค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มาประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อสินค้า
เนื่องจากสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มักจะเป็น สินค้าที่มีชื่อเสียงและมีมูลค่าทาง
การค้าสูง เช่น ผู้บริโภคเลือกซื้อนมกล่องตราหนองโพ ไข่เค็มไชยา มะขามหวานเพชรบูรณ์ หรือใช้บริการของ
ธนาคารกรุงไทย และเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญามีความส าคัญ ดังนั้น องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
(World Intellectual Property Organization-WIPO) จึงก าหนดให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น
เพื่อมิให้มีการละเมิด ผลผลิตที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ และก าหนดให้ผู้ประดิษฐ์มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ของตนเอง
ประเภทของทรัพย์สินทำงปัญญำ ทรัพย์สินทางปัญญามี 2 ประเภท ได้แก่
1. ลิขสิทธิ์ คือ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขา วรรณกรรม ดนตรี
กรรม ศิลปกรรม งานภาพยนตร์ งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง
สิทธิที่เกิดจากการท างาน ด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
หรือชุดค าสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูลที่รวบรวมเพื่อใช้
ประโยชน์ในด้านต่างๆ
ซีดีภาพยนตร์เป็นงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์