Page 34 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 34
สถำบันกำรเงินที่ประกอบกิจกำรธนำคำร
สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่ด าเนินงานกระทบปริมาณเงินใน
ระบบเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือ มีบริการเงินฝากประเภทต่างๆ สถาบันการเงินประเภทธนาคารที่ส าคัญ
ของไทยแบ่งออกได้หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
1. ธนำคำรพำณิชย์ เป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความส าคัญที่สุดในประเทศไทย เพราะมี
ปริมาณเงินฝากและจ านวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติการธนาคาร
พาณิชย์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ก าหนดให้ธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียนเป็นบริษัท
มหาชนจ ากัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้ค าว่า บริษัทน าหน้า แต่ให้มีค าว่า จ ากัดไว้ท้ายชื่อเท่านั้น เช่น ธนาคาร
กรุงเทพ จ ากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จ ากัด (มหาชน) ธนาคารพาณิชย์ให้บริการทางการเงินในด้าน
ต่างๆ ดังนี้
ธนาคารยูโอบีและธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ให้บริการทางการเงินในด้านต่าง
1) การรับฝากเงิน หน้าที่ส าคัญอย่างหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ คือ การรับฝากเงิน โดยทั่วไปแบ่ง
ออกเป็น 3 ประเภท คือ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประเภทนี้เจ้าของบัญชีสามารถ เบิกหรือโอนเป็นเงิน
สดหรือโดยการใช้เช็คเป็นเครื่องมือ เงินฝากออมทรัพย์ เป็นเงินฝากที่ลูกค้าสามารถฝากจ านวนเล็กน้อยได้
และสามารถถอนได้เมื่อทวงถาม และเงินฝากประจ าเป็นเงินฝาก ประเภทก าหนดระยะเวลาในการเบิก-ถอน
และจะถอนคืนได้ต่อเมื่อครบก าหนดหรือแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าก่อน
2) การกู้ยืม การให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์อาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การให้กู้ยืมโดยตรง เป็น
การกู้ยืมที่มีก าหนดเวลาในการช าระหนี้แน่นอน การให้เบิกเงินเกินบัญชี (overdraft) หรือ ไอ.ดี. เป็นการให้
กู้ยืมโดยธนาคารยอมให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีกระแสรายวันสามารถเขียนเช็คเบิก เงินสดได้เกินกว่าจ านวนที่มีอยู่ใน
บัญชีได้ และการซื้อลดตั๋วเงิน เป็นการรับชี้ตตัวแลกเงินหรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงก าหนดเวลาช าระเงิน
จากลูกค้าที่น ามาขายลด