Page 39 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 39

1. กำรออกธนบัตรและจัดพิมพ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะควบคุมปริมาณเงินและ มีอ านาจในการ

               ออกธนบัตร เพราะการควบคุมปริมาณเงินจะเป็นไปได้ยากถ้าไม่สามารถควบคุม ปริมาณการออกธนบัตร

               ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถยืดหยุ่นการออกธนบัตรให้มีจ านวนที่เหมาะสม ตามความต้องการของภาค

               ธุรกิจและประชาชนทั่วไปตลอดจนการออกแบบจัดพิมพ์ธนบัตร และรับแลกเปลี่ยนธนบัตรช ารุด เพื่อให้

               ประชาชนมีธนบัตรที่อยู่ในสภาพดีใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนทั่วถึงทั้งประเทศ รวมทั้งดูแลการ

               หมุนเวียนของธนบัตรให้มีปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ

                       2. กำรเป็นนำยธนำคำรของธนำคำรพำณิชย์และสถำบันกำรเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแล

               กิจกรรมต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ตามอ านาจกฎหมายในการตรวจสอบการด าเนินกิจการของธนาคาร

               พาณิชย์ ดังนี้


                       1) เป็นผู้ก าหนดอัตราเงินสดส ารองตามกฎหมายของระบบธนาคารพาณิชย์


                       2) ท าหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงิน แก่ธนาคารพาณิชย์ตลอดจนให้บริการทางการเงินแก่สถาบันการเงิน

               โดยไม่มุ่งหวังผลก าไร ได้แก่ การรับฝากเงินและเก็บรักษาเงินสดส ารองตามกฎหมายของสถาบันการเงิน เป็น
               ผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง เป็นศูนย์กลางการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน

               รวมทั้งให้บริการโอนเงินระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค


                       3. กำรเป็นนำยธนำคำรและที่ปรึกษำด้ำนนโยบำยเศรษฐกิจของรัฐบำล ธนาคารแห่งประเทศไทย

               ท าหน้าที่เป็นนายธนาคารของรัฐบาล ประกอบด้วยการให้บริการธุรกิจธนาคารแก่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ

               ทั้งประเทศ เช่น การเป็นผู้รับฝากเงินของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจของประเทศ มีส่วนในการให้กู้ยืม

               แก่รัฐบาล การโอนเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ


                       ส่วนด้านการให้ค าปรึกษานโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล ได้แก่ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และ

               ประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็น

               ตัวแทนของรัฐบาลในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลุ่มธนาคาร
               กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN)


                       4. การบริหารเงินส ารองระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยท าหน้าที่บริหารเงินส ารอง

               ระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสภาพคล่อง ปลอดภัยและมีระดับที่เหมาะสมตลอดจน รักษาไว้ซึ่งทุน

               ส ารองเงินตราตามกฎหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของเงินบาท


                       5. การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยท าหน้าที่รักษาเสถียรภาพ ทางการเงิน

               ทั้งภายในและภายนอก เสถียรภาพภายใน ได้แก่ การรักษาค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ส่วน

               เสถียรภาพภายนอก ได้แก่ การรักษาค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราต่างประเทศ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44