Page 13 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 13
11
11.7 ความสว่าง
พลังงานแสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดต่อหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า ฟลักซ์ส่องสว่าง (Luminous
flux; F) หน่วย ลูเมน (lm) แสงที่ตกกระทบบนพื้นที่ใด ๆ จะเกิดความสว่าง (Illumination, Illuminance; E)
หน่วย ลักซ์ (lx) อันเป็นอัตราส่วนระหว่าง ฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบพื้น กับพื้นที่รับแสง
=
11.8 การถนอมสายตา
รูปที่ 65 การหักเหของแสงภายในตาเมื่อมองดวงอาทิตย์
นัยน์ตาเป็นส่วนที่มีความไวต่อแสงมาก การมองวัตถุที่สว่างมาก ๆ ต้องป้องกันในส่วนของจอตา
(Retina) เนื่องจากกล้ามเนื้อตาสามารถปรับความนูนเลนส์ตาให้เห็นภาพที่จอตา และการที่มองแสงทีสว่างสูง
่
ๆ ก็คล้ายกับการที่เลนส์นูนรวมแสงจากดวงอาทิตย์เพื่อเผากระดาษ ดังนั้นจอตาอาจเกิดความเสียหายได้เมื่อ
รับแสงที่มากจนเกินไป ทั้งโดยตรงหรือผ่านทัศนอุปกรณ์ ส่วนในการดูวัตถุที่ต้องเพ่งในความสว่างน้อยทำให้
กล้ามเนื้อตาทำงานมากกว่าปกติ
11.9 ตาและการมองเห็นสี
รูปที่ 66 ส่วนประกอบที่สำคัญของตา
การมองเห็นวัตถุเกิดจากแสงหักเหผ่านเลนส์ตา มากระทบจอตาที่มีเซลล์รับแสงสองชนิด คือ เซลล์รูป
แท่ง (Rod cells) ที่ไวต่อแสงความเข้มน้อย ไม่สามารถแยกสีได้ และเซลล์รูปกรวย (Cone cells) ที่ไวต่อแสง
ความเข้มสูง สามารถแยกแสงแต่ละสีได้ เซลล์รูปกรวยแบ่งเป็นสามชนิด คือชนิดที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน เขียว และ
แดง เมื่อมีแสงสีเข้ามากระทบจอตา เซลล์ไวต่อแสงสีนั้น ๆ จะถูกกระตุ้น และส่งสัญญาณผ่านประสาทตาไปยัง
สมอง หากเซลล์รูปกรวยชนิดใดชนิดหนึ่งผิดปกติจะมองเห็นสีต่างไป เรียกว่า การบอดสี