Page 14 - ประวัติพระบรมมหาราชวัง
P. 14
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งสําหรับตั้งพระบรมศพของพระมหากษัตริย์
และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง นอกจากนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช ยังใช้ประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคลด้วย
• พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
เป็นพระที่นั่งแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นายสถาปนิกชาวอังกฤษจาก
สิงคโปร์ ชื่อ มิสเตอร์ จอนห์ คลูนิช ทําหน้าที่เป็นนายช่างออกแบบถวายตามพระราชดําริ
โดยสร้างตามแบบอย่างศิลปกรรมตะวันตกมีหลังคาทรงโดม ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น
แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กราบบังคมทูลว่า ควรยกยอดพระที่นั่งเป็น
แบบปราสาทเห็นจะเหมาะสม เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการสร้างพระที่นั่งปราสาท
เรียงกัน 3 องค์ คือ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท และพระที่นั่ง
สุริยาสอมรินทร์ ในกรุงรัตนโกสินทร์มีการสร้างอยู่แล้ว 2 องค์ คือ หมู่พระมหา
มณเฑียรเปรียบได้กับพระที่นั่งวิหารสมเด็จ และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เปรียบได้กับ
พระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ขาดแต่พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทที่อยู่ตรงกลาง นอกจากนี้
การสร้างพระมหาปราสาทนั้นถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ ของพระ
มหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ทรงสร้าง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบ
ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดยองค์พระที่นั่งเป็นแบบตะวันตก ส่วนเครื่องยอดให้ยกเป็น
ยอดปราสาทตามแบบสถาปัตยกรรมไทย พระราชทานนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า “พระที่นั่ง
จักรีมหาปราสาท” เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระราช
มณเฑียร ในปี พ.ศ. 2425 ซึ่งตรงกับพระนครครบ 100 ปี