Page 11 - E-book พระบรมมหาราชวัง
P. 11
• พระอุโบสถ
พระอุโบสถเป็นอาคาร
ทรงไทยก่ออิฐถือปูน เป็น
ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย
ฐานพระอุโบสถหย่อนท้อง
ช้างเป็นเส้นโค้ง หลังคาทรง
ไทย 4 ชั้นลด หน้าบัน
จําหลักลายรูปนารายณ์
ทรงครุฑยุดนาค ล้อมรอบ
ด้วยลายก้านขดเทพนม ลง
รักปิดทองประดับกระจก
เสานางเรียงโดยรอบ มี
จํานวน 48 ต้น เป็นเสาย่อ
มุม ไม้สิบสอง ปิดทอง
ประดับกระจก
ผนังพระอุโบสถด้านนอกประดับลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ปิดทองประดับกระจกซุ้มพระทวาร
และพระบัญชรเป็นซุ้มปูนปั้นทรงมณฑป ที่ฐานปัทม์โดยรอบตกแต่งด้วยรูปครุฑยุดนาค
หล่อด้วยสําริดปิดทอง มีจํานวน 112 รูปที่บันไดทางขึ้นพระอุโบสถตั้งแต่งด้วยสิงห์
สําริดศิลปะแบบเขมร รวม 6 คู่ สิงห์คู่กลางด้านหน้าพระอุโบสถนํามาจากเมืองบันทาย
มาศ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก ส่วนอีก 5 คู่ที่เหลือเป็นสิงห์จําลอง
จากคู่กลางบานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกฝีมือช่างในสมัยพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1
ฝาผนังด้านในทั้ง 4 ด้าน มีจิตรกรรมฝาผนังเขียนขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้ าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนังหุ้มกลองด้านหน้า
พระแก้วมรกตเป็นภาพมารผจญ
ผนังหุ้มกลองด้านหลังเป็นภาพ
ไตรภูมิ ผนังด้านข้างเป็นภาพพระ
ปฐมสมโพธิกถาและชาดก รวมทั้ง
ภาพกระบวนพยุหยาตราทาง
ชลมารคและทางสถลมารค