Page 12 - E-book พระบรมมหาราชวัง
P. 12
• พระแก้วมรกตและพระพุทธรูปอื่นๆ
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตมีพระพุทธลักษณะ
เป็นศิลปแบบล้านนาตอนปลาย ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ องค์พระแกะสลักจาก
เนื้อหยกสีเขียวทึบชิ้นเดียว
ภายในพระอุโบสถจะเห็นบุษบกทองวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2327 พระแก้วมรกตมีพระ
พุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบล้านนาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง
ปางสมาธิ องค์พระแกะสลัคําเหนือฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมา
กร หรือพระแก้วมรกต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก อัญเชิญมาจากพระ
วิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อ
กจากเนื้อหยกสีเขียวทึบชิ้นเดียว มีขนาดหน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร ความสูงจาก
ฐานถึงพระรัศมี 66 เซนติเมตร ตามประวัติกล่าวว่า ได้พบพระแก้วมรกตครั้งแรกที่เมือง
เชียงราย ในปีพ.ศ. 1977 โดยพบอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งถูกฟ้ าผ่า ครั้งนั้นพระแก้วมรกต
ถูกหุ้มด้วยปูนปิดทอง เจ้าอาวาสจึงอัญเชิญไปประดิษฐานภายในกุฏิของท่าน
ต่อมาปูนที่ปลายพระนาสิกกะเทาะออก ทําให้เห็นเนื้อหยกสีเขียว เจ้าอาวาสจึงให้
กะเทาะเนื้อปูนออกทั้งหมด เห็นเป็นพระพุทธรูปหยกสีเขียวทึบทั้งองค์ ความนี้ทราบไปถึง
พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตประทับบนหลัง
ช้างมายังเมืองเชียงใหม่ แต่ปรากฏเป็นอัศจรรย์ว่าเมื่อกระบวนช้างมาถึงทางแยกสาม
แพร่ง ช้างทรงที่อัญเชิญพระแก้วมรกตตื่นไปทางเมืองลําปาง แม้จะมีการเปลี่ยนช้างทรง
2 ครั้ง ช้างนั้นก็ยังคงมุ่งไปทางเมืองลําปาง พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงทรงพระดําริว่า
ชะรอยเทวดาผู้รักษาพระแก้วมรกตมีความประสงค์จะไปเมืองลําปางมากกว่า จึง
ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่เมืองลําปาง เป็นเวลา 32 ปี
ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่
วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ รวมเป็นเวลา 84 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา โปรด
เกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เมืองหลวงพระบางและเวียงจันทร์ กรุง
ศรีสัตนาคตหุต เป็นเวลา 226 ปี ในปี
พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก) ได้ยก
ทัพตีได้เมืองเวียงจันทร์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานที่พระ
วิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม
เมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงประจําฤดูถวาย
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 2 ฤดู คือ เครื่องทรงสําหรับฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงสําหรับหนาว
ถวายอีก 1 ชุด แต่เครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูในปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539