Page 111 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 111

๑๑๓

                                               4.3 แผนงาน โครงการ และงบประมาณ

               (1)  แผนงาน
                       ภารกิจงานยุทธศาสตร์ของสำนักการจราจรและขนส่ง ด้านที่ 2 มหานครสีเขียว สะดวกสบาย มิติที่ 2.3

               ระบบขนส่งมวลชนทั่วถึง สะดวก ประหยัด การจราจรคล่องตัว และมีทางเลือก เป้าประสงค์ที่ 2.3.1.1 ขยาย
               ระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมทุกพนที่ มาตรการที่ 1 ผลักดันระบบขนส่งมวลชนแบบบูรณาการ โดยมีตัวชี้วัด
                                              ื้
               เป้าประสงค์ คือ ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของประชาชนที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้า BTS)
                       ทั้งนี้ โครงการที่นำเสนอนั้นควรจะได้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งควรรวม

               ไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) ด้วย เนื่องจากการพัฒนาระบบ
               เชื่อมต่อเพื่อนำประชาชนเข้าสู่ระบบรางจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อการระบบขนส่งมวลชนทางรางได้เปิดให้บริการ
               เรียบร้อยแล้ว

               (2)  โครงการและงบประมาณ

               1. ชื่อโครงการ: โครงการพัฒนาระบบนำส่งผู้โดยสารบริเวณศูนย์ชุมชนมีนบุรีและพื้นที่ต่อเนื่อง
                                 ี่
               2. ความสำคัญและทมา
                       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กำหนดแนวทางการพัฒนา
               โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง ให้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองที่มีความเหมาะสมกับขนาดเศรษฐกิจ
               และสังคมของเมืองที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าใน

               เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและ
               ปริมณฑล รวมถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้
               ประโยชน์จากโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยความความสำคัญกับการ
               ส่งเสริมให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง การสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ และการพฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบ
                                                                                      ั
               ขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) ตามระดับการพัฒนาและความสามารถในการบริหาร

               จัดการของพื้นที่

                       จากแนวทางดังกล่าว แผนพฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2565)
                                               ั
               จึงกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบกระชับ (Compact City) ตามการประกาศกฎกระทรวงให้ใช้

               บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 เพื่อให้การขยายตัวเติบโตของพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นไปอย่างทั่วถึง
               เต็มพื้นที่ ประชาชนได้รับความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนั้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
               ได้กำหนดแผนการพัฒนาศูนย์ชุมชนย่อยของเขตเมืองชั้นนอกเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า

               การบริการและนันทนาการที่จะก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่อยู่อาศัยของประชาชนบริเวณเขต
                                                                                                ื้
                                               ั
               เมืองชั้นนอก ซึ่งเขตมีนบุรีเป็นเขตที่มีอตราการขยายตัวของชุมชนเมืองค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นพนที่เขตต่อเมือง
               (transition zone) ระหว่างเขตเมืองชั้นกลาง ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ กับ
               เขตเมืองชั้นนอก ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ จากลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวทำให้

               เขตมนบุรีเป็นประตูทางเข้า - ออกของเมือง จึงมีการกำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โดยมี
                    ี
               วัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116