Page 112 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 112
๑๑๔
ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองมีนบุรีมีเส้นทางคมนาคมสายหลักที่มุ่งเข้าสู่เขตเมืองชั้นในได้
สะดวก ตามการขยายตัวของเมือง เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนว
้
โครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟาสายสีส้ม
(ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี) โดยมีจุดร่วมบริเวณสถานีมีนบุรี ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางพื้นที่กรุงเทพฯ
ฝั่งตะวันออกเข้าสู่เมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด TOD พื้นที่ดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบของการ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็น
ศูนย์กลาง ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าและรถบริการสาธารณะ ควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นทีรอบสถานีให้เกิดการใช้
ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าและหลากหลาย
ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบนำส่งผู้โดยสารบริเวณศูนย์ชุมชนมีนบุรีและพื้นที่ต่อเนื่องนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผน
แม่บทการขนส่งของกรุงเทพมหานคร การจัดทำแผนพัฒนาและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน การ
พัฒนาระบบโปรแกรมด้านการจราจรและขนส่ง การศึกษา สำรวจ ออกแบบ กำกับ และควบคุมการก่อสร้างระบบ
การขนส่งทางราง จุดเชื่อมต่อการเดินทางของระบบขนส่งทางราง ระบบขนส่งทางบกและทางน้ำ รวมถึงการศึกษา
วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในการจัดการ การพัฒนา การปรับปรุงและแก้ไขให้ระบบการขนส่งทางบก ทางราง และ
ทางน้ำ มีรายได้เพียงพอในการดำเนินการ รวมทั้งการบริหารทรัพย์สินเพื่อหารายได้ให้กรุงเทพมหานคร โดยการให้
สิทธิ์หรือการว่าจ้าง หรือวิธีการอื่นใดที่ไม่ส่งผลต่อการเดินทางที่สะดวกสบายและปลอดภัยของประชาชน
(1) วิธีการศึกษาสภาพปัญหา
1.1 พื้นที่ที่ทำการศึกษา
ึ
ขอบเขตพื้นที่ที่ศกษา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนเขตมีนบุรี ต่อเนื่องไปถึงพื้นที่บางส่วนเขตคันนายาว เขตสะพานสูง
และบางส่วนเขตลาดกระบัง ในบริเวณที่อยู่ในเส้นทางรถไฟฟา หรือสามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าได้โดยอาศัยระบบขนส่ง
้
มวลชน ระบบรอง (Feeder)