Page 133 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 133
๑๓๕
(8) งบประมาณที่ใช้
งบประมาณทั้งสิ้น 4.7 ล้านบาท
8.1 ร่วมมือกับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ViaBus เพื่อเพิ่มเติมจุดเชื่อมต่อขนส่งมวลชนเสริม เช่น
ที่ตั้งวินมอเตอร์ไซค์ ที่ตั้งวินรถตู้ และที่ตั้งวินรถสองแถว พร้อมแสดงเส้นทางเดินรถ เข้าไปในแอปพลิเคชัน ViaBus
(ไม่ใช้งบประมาณ)
8.2 ร่วมมือกับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Grab Bike เพื่อให้เชื่อมโยงกับ ViaBus และเพิ่มเติม
ฟังก์ชันการเรียกใช้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างโดยประสานข้อมูลกับสำนักงานเขต (ไม่ใช้งบประมาณ)
8.3 ร่วมมือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) เพื่อนำข้อมูลจุดจอดรถยนต์
“จอดแล้วจร” (Park and Ride) มาแสดงไว้ในแอปพลิเคชัน ViaBus เพื่อแสดงจำนวนช่องจอดที่ว่างแบบเรียลไทม์
(ไม่ใช้งบประมาณ)
8.4 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับการให้บริการขนส่งมวลชนระบบราง จุด
เชื่อมต่อต่างๆ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่รถไฟฟ้าจะเริ่มเปิดให้บริการอย่างน้อย 3
เดือน โดยจัดทำสื่อออนไลน์เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเป้าหมาย เช่น Facebook,
YouTube, Twitter และ Instagram ทำป้ายประชาสัมพนธ์ติดตามเสารถไฟฟ้าในเส้นทางที่กำลังจะเปิดให้บริการ
ั
นับถอยหลังจนถึงวันให้บริการไม่น้อยกว่า 3 เดือน และประชาสัมพนธ์ทางสื่อหลักเป็นระยะๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
ั
และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ใช้งบประมาณ 4.7 ล้านบาท
(9) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ประชาชนมีทางเลือกในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
9.2 ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนทาง
รางที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้
9.3 ประชาชนลดหรือเลิกใช้พาหนะส่วนตัวเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง
(10) ปัญหาและอุปสรรค
10.1 โครงการนี้จำเป็นต้องใช้การมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในการ
เชื่อมต่อระบบต่างๆ ให้รวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เจ้าของวินรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน
หากไม่ได้รับความร่วมมืออาจเกิดปัญหาในการดำเนินโครงการ
10.2 เกิดความล่าช้าในการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพ ู