Page 138 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 138
๑๔๐
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความสำคัญและที่มาของปญหา
ั
1. กรุงเทพมหานครมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” โดยแบ่งการพัฒนาเมืองออกเป็น 5 ด้าน
สำหรับมหานครประชาธิปไตย กำหนดมิติด้าน“เมองธรรมาภิบาล” โดยกำหนดเป้าหมายว่า “ประชาชนกรุงเทพฯ
ื
มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพมหานครโดยการใช้ระบบงบประมาณแบบม ี
ส่วนร่วม” แต่โครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า
2. กรุงเทพมหานครยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตรวจสอบที่มีอยู่และหน่วยงานตรวจสอบ
ภายในของกรุงเทพมหานครยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจสอบ
3. กลุ่มที่ 5 จึงเสนอแนวคิด “การยกระดับการบริการของกรุงเทพมหานครด้วยการตรวจสอบแบบมีส่วน
ร่วมจากภาคประชาชน” และจัดทำโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We
Hear You)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณที่ดีให้กับกรุงเทพมหานคร
์
วิธีการศึกษา
เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมระดับกรุงเทพมหานครและระดับสำนักงานตรวจสอบภายในและตัดสินใจ
เสนอแนวคิด “การยกระดับการบริการของกรุงเทพมหานครด้วยการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน”
และจัดทำโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You) กลุ่มที่ 5 จึงได้
สำรวจความคิดเห็นของตัวแทนภาคประชาชนและตัวแทนของหน่วยรับตรวจเกี่ยวกับการพัฒนาแนวทางการ
ตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน โดยออกแบบแบบสำรวจและเผยแพร่ผ่านช่องทาง Google form
ระหว่างวันที่ 6 - 9 สิงหาคม 2563 นำมาประมวลผล เพื่อให้ทราบความคิดเห็นเบื้องต้นของประชาชนและ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสอบทานสถิติและประเภทของเรื่องร้องทุกข์ผ่านระบบ 1555 เพื่อป้องกัน
ความซ้ำซ้อนของขอบเขตการดำเนินการและพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการประชาสัมพันธ์
ระบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมผ่านช่องทาง ๑๕๕๕ รวมทั้งนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประชาสัมพันธ์
Brand “We Hear You” ให้เหมาะสมต่อไป นอกจากนั้น ยังได้ค้นคว้าและศึกษาแนวทางการตรวจสอบแบบมี
ส่วนร่วมของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
ผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You)
ข้อค้นพบ
1. ประชาชนสวนใหญ่ยินดีหากได้มีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินงานตาง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
่
่
ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีความคิดเห็นว่า การมีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินงานจะมีส่วนช่วยพัฒนาบริการต่าง
ๆ ของกรุงเทพมหานครและเสริมสร้างความโปร่งใส สำหรับประเด็นที่ต้องการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากที่สุด