Page 139 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 139

๑๔๑

                                   ้
               ๓ ลำดับแรก คือ การแกไขปัญหาจราจร การจัดการขยะและการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
                       2. ตัวแทนข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานครส่วน

               ใหญ่เห็นด้วยที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินของกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่
                   ี
               ไม่มความกังวลใจ รวมทั้งมีความคิดเห็นว่าข้อดีของการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจากประชาชน คือ เกิดความ
               โปร่งใสในการทำงาน ตอบสนองความต้องการของประาชนได้มากขึ้นและประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น
                       3. เรื่องร้องทุกข์ผ่านระบบ 1555 ส่วนใหญ่เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญ ก่อให้เกิดผลกระทบเฉพาะตัว

               ผู้ร้องหรือครอบครัวคนใกล้ชิดและต้องการการแก้ไขเร่งด่วนหรือเฉพาะหน้า ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดการมีส่วนร่วม
               ในการตรวจสอบที่กลุ่ม ๕ เสนอ ซึ่งเป็นแนวทางที่มุ่งเน้นให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปประกอบการ
                                                                               ื่
               วางแผนการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร โดยรับฟังความคิดเห็น เพอนำไปวางแผนการตรวจสอบการ
               ดำเนินการ (Performance Audit) โดยใช้เกณฑ์ว่า “เรื่องที่ร้องขอต้องเป็นประโยชน์สาธารณะ” และส่งผล

               กระทบในวงกว้างเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม สำนักงานตรวจสอบภายในควรวิเคราะห์ประเด็นเรื่องร้องทุกข์จากระบบ
               1555 เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดประเด็นสาธารณะเพื่อให้ประชาชนพิจารณาคัดเลือกผ่านระบบ
               สารสนเทศการตรวจสอบฯ ในแต่ละปี
                       4. แนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของประเทศอื่น พบว่าประเด็นสำคัญที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ

               ในการเลือกเรื่องหรือประเด็นที่ตรวจสอบ คือ ประชาชนผู้แสดงความคิดเห็นหรือร้องขอให้ตรวจสอบ ต้องระบุให้
               ได้ว่า เรื่องที่เสนอหรือร้องขอเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
               ในวงกว้าง โดยใช้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับ

               ประโยชน์ที่ได้รับการจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ คือ พัฒนาบริการของภาครัฐและ
               เสริมสร้างความโปร่งใสให้กับการดำเนินการของภาครัฐ

               ข้อเสนอแนะ
                       กรุงเทพมหานครควรเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์เรื่อง “การยกระดับการบริการของกรุงเทพมหานครด้วยการ

               ตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน”และสำนักงานตรวจสอบภายในเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการ
               เสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You) โดยมีรายละเอียดดังนี้
                       1. การพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน (We Hear You)

                                                                                       ี่
                       2. การพัฒนาการสื่อสารเพอสร้างความรู้ความเข้าใจในโครงการฯ ให้กับกลุ่มทได้รับผลกระทบจากการ
                                             ื่
               เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร
                       3. การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
               ตรวจสอบ

                       4. การประเมินผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยพิจารณาความสำเร็จของ“การตรวจสอบแบบมี
               ส่วนร่วม” ในทุกมุมมอง ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การใช้งานระบบสารสนเทศ การตอบสนองของภาคประชาชน
               การปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบภายใน  การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจ เพื่อนำข้อมูลการ
               ประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อไป

                       5. การพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบให้มีความยั่งยืน
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144